การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Main Article Content

ธันยพร บุญรักษา
ทิพาพร สุจารี
สมาน เอกพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาความต้องการ 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร และ 4) ยืนยันประสิทธิผลการใช้หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 3 การทดลองใช้ และระยะที่ 4 การยืนยันประสิทธิผลของ หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample)


      ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาความต้องการในการการพัฒนาหลักสูตร พบว่า มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก
    ( gif.latex?\bar{X}=3.72, S.D.=0.29) และมีความต้องการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.28, S.D.=0.63)

  2. หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. สภาพปัญหาและความสำคัญจำเป็นของหลักสูตร 2. หลักการของหลักสูตร 3. จุดมุ่งหมาย 4. ผลการเรียนรู้ 5. สาระการเรียนรู้ 6. คำอธิบายรายวิชา 7. โครงสร้างเนื้อหาและเวลา 8. เวลาเรียน 9. โครงสร้างเนื้อหาและเวลา 10. แนวการจัดกิจกรรม 11. สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ และ 12. แนวการวัดและประเมินผล และการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.09, S.D.=0.75)

  3. หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.08/78.67 นักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาหลักสูตร โดยรวมมีค่าความพึงพอใจมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.59, S.D.=0.51)

  4. ยืนยันประสิทธิผลหลักสูตร พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, (2561) การท่องเที่ยวไทยวิสัยทัศน์. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พรพิไล เชื้อคมตา (2556) การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว รายวิชาประเพณีไหลเรือไฟ เต่างอย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเต่างอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 5(12): 177-185 ; มกราคม-เมษายน.

วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยเน้นงานปฎิบัติเพื่อฝึกทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 7(2) 2014, pp. 869-883.

วีรพล ทองมา. (2551). กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย เชียงใหม่: คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศศิฉาย พ่อคำไพ และไพสิฐ บริบูรณ์ (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง พระธาตุประจำวันเกิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 1. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8(23): 27-37 ; กันยายน-ธันวาคม, 2559.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการพัฒนาการวัด และประเมินคุณลักษณะอันถึงประสงค์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุธินี รัตนศรี. (2559). การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 18(1), 2018, pp. 521-534.

สุพรรษา ทิพย์เที่ยงแท้. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นชะอำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 7(3) 2014, pp. 992-1005.

ออมสิน จตุพร (2560) การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดการศึกษาอิงถิ่นฐาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาศึกษา: กรณีชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จังหวัดนครสวรรค์.

อำคา แสงงาม, (2553). การศึกษาศักยภาพทรัพยากรและการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้รับการตีพิมพ์) สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุดร วงษ์ทับทิมและสุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน : แนวคิดและประสบการณ์. เชียงใหม่ : โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สำนักงานภาค).