การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น แบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุชิดา คำแสงทอง
เนตรชนก จันทร์สว่าง
กรวี นันทชาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น แบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/2 จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น แบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 7 การจัดการเรียนรู้ รวม 12 ชั่วโมง  2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 35 ข้อ ที่มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87   และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย ตัวเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 45  ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง IOC เท่ากับ 0.60-1.00 ค่า อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 - 0.83 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (One-Simple t - test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 (S.D.= 0.16) ถึง 4.37 (S.D. = 0.15) 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์มีการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( gif.latex?\bar{X}=32.70, S.D. =1.02)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร สีแดง,เนตรชนก จันทร์สว่าง และ สมสงวน ปัสสาโก.(2563). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับสื่อการสอนสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 59-68.

กนกวรรณ ขอบทอง, นิลมณี พิทักษ์. (2559). การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (Big Five Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 1-5.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2)และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). การคิดเชิงวิพากษ์ = Analytical thinking. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย,

เครือวัลย์ ยศเมธากุล. (2558). ผลการสอนโดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้ 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

เจษฎา ราษฎร์นิยม, เยาวภา แสงนนท์,มนมนัส สุดสิ้น และอารยา ลี. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(2), 98-115.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล,ฉัตรสุดา กานกายันต์และจรรยา คนใหญ่.(2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน.14 (34), 287-298.

สุธาทิพย์ คนโทพรมราช. (2553). ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ผังกราฟิกประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน).มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสรรค์.

สุวิทย์ มูลคำ.(2550). กลยุทธ์ การสอนวิเคราะห์.(พิมพ์ครั้งที่ 4) . กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อนรรฆพร สุทธิสาร,อัมพร วัจนะ.(2564).การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E.วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 244-259.

Marzono, Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy of Education Objective. California: CorwinPress.