พระนครศรีอยุธยากับแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Main Article Content

กมลวรรณ วรรณธนัง
ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์
ชนิกานต์ ผลเจริญ
มูนีเราะฮ์ ยีดำ

บทคัดย่อ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ในช่วงฤดูฝนทุกๆปีมักมีฝนตกชุก ทำให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นจนเกิดอุทกภัย ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร รวมทั้งโบราณสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางเพื่อการบริหารจัดการน้ำ โครงการแก้มลิงเป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเพื่อแก้อุทกภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมา ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้น้อมนำแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการแก้มลิง มาประยุกต์ใช้ ทำให้บรรเทาอุทกภัยขนาดกลางและขนาดใหญ่ของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลงได้ ลดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตร และยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2559). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2557-2560) ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559 จาก http://www.ayutthaya.go.th/ plan1/ template2/2555/doc02149020121003155539.pdf

กลุ่มระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง กรมชลประทาน (High Performance and Potential System : HiPPS) .(2554). เอกสารการจัดนิทรรศการงาน 84 พรรษา ดวงใจราษฎร์ ปราชญ์แห่งน้ำ.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559 จากhttp://kromchol.rid.go.th/person/train/web_train56/hipps/84%20rid.pdf

โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา. (2559). การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559 จาก http://province.rid.go.th/ayutthaya

ณัฏฐกิษฐ นบนอบ. “แนวทางในการบรรเทาปัญหาอุทกภัย กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, (13) 2 : กรกฎาคม-ธันวาคม 2554

ทัศนา ทัศนมิตร. (2555). อดีต-อนาคต น้ำท่วม พิบัติภัยคุกคามไทย. กรุงเทพฯ : แสงดาว.

ธงชัย โรจนกนันท์. (2554). แก้มลิงใต้ดิน มาตรการบรรเทาน้ำท่วม. เอกสารประกอบการบรรยาย “การพัฒนาเมืองในทศวรรษหน้า กรณีเมืองในเขตภัยพิบัติ”. http://www.dpt.go.th/csp/images/stories/pdf/disaster/Underground.pdf

บุญชัย ใจเย็น. (2555). ประวัติศาสตร์ชาติหน้าใหม่ “น้ำท่วมกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : ปราชญ์.

ปฤษณา ชนะวรรษ, ศุภกาณฑ์ นานรัมย์. (2557). “บทที่ 2 ภูมิสถานการคมนาคม และเศรษฐกิจอยุธยา” ใน นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกไทย-มรดกโลก. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : เอส-ซี-เจ เอ็มซี.

มูลนิธิชัยพัฒนา (2559). ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559 จาก http://www.chaipat.or.th/concept-and-theory-development/theory-of-flooding-problems.html

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ. (2559). โครงการแก้มลิง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559 จาก http://www.pidthong.org/knowledge-detail.php?id=14&parent_id=1#.WCgcNFV97IU

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2559). บันทึกเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2559 จาก http://www.thaiwater.net/current/flood54.html

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล. (2556). บันทึกภาพมหาอุทกภัยอยุธยา 2554. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2559).สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2559 จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=12&chap=8&page=t12-8-infodetail13.html

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559 จากhttp://www.ayutthaya.go.th/royalthought.htm

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559 จาก http://www.nso.go.th/webstat/king/kfiles/k1-04.pdf

อริยา อรุณินท์.(2555). เครื่องมือขยายเสียงจากชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนาที่ดิน กรณีศึกษาโครงการที่มีความขัดแย้งสูง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 8 (1). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. หน้า 109-122.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559 จาก http://www.dpt.go.th/csp/images/stories/pdf/ disaster/Underground.pdf