มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง คนของพระราชา: ตามรอยพ่อ ครูของแผ่นดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกด้านเพื่อประโยชน์สุขของชาวไทย เฉพาะด้านการศึกษาทรงเป็นครูโดยการสั่งสอน ทรงมีวิธีการสอนแยบยลและมีเทคนิคการสอนหลากหลาย และทรงเป็นครูที่เป็นต้นแบบในการปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้องดีงามให้ผู้อื่นประพฤติตาม สิ่งที่ได้เรียนรู้จากพระองค์คือ การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง การใช้ชีวิตเพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น และการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ทรงพระราชทานนามมหาวิทยาลัยราชภัฏให้แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏที่หมายถึงคนของพระราชา ได้สืบสานพระราชดำริ พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท และพระราชกรณียกิจในการทำประโยชน์เพื่อประชาชนตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ เช่น สืบสานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเกื้อกูลกัน เป็นต้นเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความอาลัยถวายแด่พระองค์ที่เสด็จสู่สวรรคาลัยในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2555).พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก Google.co.th: http:// facebook.com.
กุลยา อนุโลก. (2555). การพัฒนาพฤติกรรมการออมของนักศึกษาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี: สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ.
เกษม วัฒนชัย.(2545). หลักและวิธีทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่อง ธ คือครูของแผ่นดิน.การสนทนาจากรายการเช้าวันนี้ออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2545.
ชัชวาล แอร่มหล้า.(2553).กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
เทวี สวรรยาธิปัติอาคม เจริญสุขและชัชวาล แอร่มหล้า. (2552).การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนในจังหวัดราชบุรี.ราชบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ธงทองจันทรางสุ. (2555).ในหลวงของเรา..พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน....สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก Google.co.th:https://www.facebook.com.
ประวัติมหาวิทยาลัย.(2559).สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก Google.co.th: http://www.mcru.ac.th/mabout_ new.php?action=history)
ราชบัณฑิตยสถาน.(2554).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559, จาก Google.co.th:http://www.royin.go.th/dictionary.
วันราชภัฏ. (2558).14 กุมภาพันธ์ “วันราชภัฏ” พระราชทานกำเนิด“คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม2559,จากGoogle.co.th:http://www.natsima.com/ this-is-thailand/rajabath-day/.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2556).ตามรอยพระยุคลบาท...ครูแห่งแผ่นดิน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.
สุเมธ ตันติเวชกุล.(2557).“พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559,จากGoogle.co.th:http://www.chaoprayanews.com.
สุทิน สนองผัน.(2552).การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการในชุมชนชาวกะเหรี่ยง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
อรรถพล อุสายพันธ์.(2551).ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง: ประสบการณ์ตรงจากชาวบ้านในจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.