พระบรมราโชวาทกับแนวทางการปฏิบัติงานของข้าราชการ

Main Article Content

พยุงศักดิ์ ทราบรัมย์

บทคัดย่อ

พระบรมราโชวาทเป็นแบบอย่างคำสอนหรือคำแนะนำที่ได้พระราชทานแก่ข้าราชการและประชาชนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ จากการวิเคราะห์พระบรมราโชวาทพบว่ามีใจความสำคัญเกี่ยวกับ ความรู้ความสามารถในหลักวิชาที่มีอยู่ในตัวของข้าราชการ กระบวนการทำงานโดยอาศัยหลักการความร่วมมือ ความรับผิดชอบ ความศรัทธาในงานที่ทำ และผลสำเร็จจากการปฏิบัติงาน พระบรมราโชวาทมีความสอดคล้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเด็นสมรรถนะ สอดคล้องกับแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ด้านภาระความรับผิดชอบ การแสวงหาผลประโยชน์สาธารณะ และสอดคล้องกับแนวคิดธรรมาภิบาลประชาธิปไตยในหลักประสิทธิภาพ ความสามารถตรวจสอบได้ บทสรุปและข้อเสนอแนะ 1) ข้าราชการต้องอาศัยความรู้ตามศาสตร์แต่ละแขนงที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) ข้าราชการต้องอาศัยหลักความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความศรัทธาในงานที่ทำ ความจริงใจ การประสานความร่วมมือ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง 3) ข้าราชการต้องคำนึงถึงความสำเร็จจากการปฏิบัติงานที่จะเกิดขึ้นและต้องมีประสิทธิภาพ และ 4) อาศัยหลักความปรารถนาดี ความปรองดอง ความพอดี ความซื่อสัตย์จริงใจ ความชอบธรรม ความเที่ยงตรง และหลักผลประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณธรรมที่ใช้ในการควบคุมจิตใจของข้าราชการไม่ให้ประพฤติในทางมิชอบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). ขีดความสามารถ. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้.

เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค. (2546). การพัฒนาขีดความสามารถเชิงสมรรถนะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นาโกต้า.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2550). ความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล : ปัจจัยสำคัญที่ลดความขัดแย้งขององค์การ. วารสารการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 11-34.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2551). เทคนิคการจัดทำ และนำ Job Competency ไปใช้งาน. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.

พยุงศักดิ์ ทราบรัมย์. (2557). การนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปใช้ในการจัดการศึกษา กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทยา บวรวัฒนา. (2556). ระบบราชการ. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

วลัยพร สุขปลั่งและบรรพต วิรุณราช. (2558). สมรรถนะของบุคลากรสายผู้สอน สาขาการบริหารทรพยากรมนุษย์ สังกัดมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 : กันยายน-ธันวาคม 2558. 139-148.

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติทฤษฎีอื่น.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์) ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม-สิงหาคม 2559. 69-84.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2559). พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [Online] เข้าถึงจากhttp://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id=2833:2011-08-15-14-24-08&catid=544:2013-07-13-08-07-18

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ชวนคิด พระบรมราโชวาท. [Online] เข้าถึงจาก http://www.socgg.soc.go.th/TheKing1.html

สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

อุภาวัณณ์ นามหิรัญ. (2553). การวิเคราะห์พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพ ระราชทานปริญญาบัตร พ.ศ. 2493-2542. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bowornwattana, Bidhya. (1997). Transforming Bureaucracies for the 21st Century: The New Democratic Governance Paradigm. Public Administration Quarterly, 668 – 677.

Denhardt, J. V. and Denhardt, R. B. (2000). The New Public Service : Serving Rather than Steering. Public Administration Review 60 No.6, 549 - 559.

Denhardt, J. V. and Denhardt, R. B. (2007). The New Public Serving : Serving, not Steering. Armonk, New York : M.E.Sharp.

Jay M. Shafritz and Albert C. Hyde. (2012). Public Administration Classic Readings. 7thed. Canada : Wadsworth, Cengage Learning.

Nicholas Henry. (1980).Public Administration and Public.Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.

Nicholas Henry. (1980).Public Administration and Public Affairs. 12thed. New York : Pearson Education.

Osborne D. and Gaebler T. (1993). Reinventing Government. Public Productivity & Management Review No 4,349 – 356.

Rhodes R. (1996). The new governance : Governing without government. Political Studies, 652 – 667.

Woodrow Wilson. (1887). The Study of Administration. Political Science Quarterly. 2, 197-222.