มูลนิธิชัยพัฒนา: การพัฒนาเพื่อชนะปัญหาความยากจนของคนไทย

Main Article Content

วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์
จุฑามาศ พรรณสมัย
มยุรี ทรัพย์เที่ยง

บทคัดย่อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา" โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้นดังพระราชดำรัส "ชัยชนะของประเทศนี้ โดยงานของมูลนิธิชัยพัฒนานั้นก็คือ ความสงบ  เป็นเมืองไทยที่มีความเจริญก้าวหน้า จนเป็นชัยชนะของการพัฒนาตามที่ได้ตั้งชื่อ มูลนิธิชัยพัฒนา ชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์ คือ ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดี"

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สถาบันวิจัยเพื่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2546). สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย.ค้นจากhttp://www.tdri.or.th/poverty/report1.htm.

วิทยากร เชียงกูล. (2547). พัฒนาการแบบยั่งยืนกับการแก้ปัญหาคนจน.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจํากัด (มหาชน).

ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” เป็นนิติบุคคล. (2531, 24 มิถุนายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 105 ตอนที่ 109. หน้า 5220-5222.

ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในสังคมไทย.EAU HERITAGE JOURNAL Social Science and Humanity,Vol.5 No. 2 May-August 2015,หน้า 12-21.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2558).เกี่ยวกับมูลนิธิ.สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2559,จากมูลนิธิชัยพัฒนา: http://www.chaipat.or.th/about-the-chai-pattana-foundation/about-us.html

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตนเอง.(2555). “สวนธงไชย-ไร่ทักสม” แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้.สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2559,จากศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตนเอง. http://www.ryta.com/s/ryta/162375