การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ การดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

เทิดศักดิ์ สุพันดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง และพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา
ข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบ คือ แหล่งเรียนรู้ต้นแบบแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดชัยภูมิ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาจากสภาพจริง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบ
ด้วย กิจกรรมด้านอาหาร ได้แก่ ปลูกข้าวนาปี ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคในครัวเรือน ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี มีการปรับปรุงดินโดย
การไถกลบตอซัง และปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน และการปลูกไม้ผลเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน ให้สามารถมีผลไม้ตามฤดูกาลไว้
บริโภค การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มกิจกรรมเพิ่มรายได้ เช่น ปลูกมันสำหลัง เพื่อเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ปลูกผัก
สวนครัวปลอดสารพิษ เพื่อจำหน่ายและเป็นรายได้ประจำของครัวเรือน ปลูกกล้วยนํ้าว้า เป็นแนวขอบเขตและใช้เป็นแนวกันลม ผลผลิต
จำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้ตลอดทั้งปี การขุดบ่อเลี้ยงปลา โดยเลี้ยงแบบผสมผสานในสภาพธรรมชาติ จำหน่ายและเพื่อใช้บริโภคใน
ครัวเรือน กลุ่มกิจกรรมด้านการใช้สอย ได้แก่ ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านและเพื่ออนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านให้คงอยู่
และการปลูกไม้ยืนต้น กลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ เช่น ใช้ฟางข้าวมาเป็นวัสดุคลุมดิน และนำเศษวัชพืช
มาใช้ในการทำปุ๋ยหมักและให้อาหารปลา ใช้เศษผักผลไม้มาใช้ในการทำปุ๋ยนํ้าชีวภาพ
2. ผลการพิจารณาความสอดคล้อง ของเนื้อหาสาระของรูปแบบการดำเนินการตามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้วยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ทุกข้อรายการพิจารณามีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ทุกค่า
3. เพื่อคุณลักษณะของบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การมีทัศนคติ
และมีความศรัทธาเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การมีความรู้ในปรัชญา หลักการ การปฏิบัติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างถ่องแท้ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพียงให้ทราบอย่างทั่วถึง ชี้ให้เห็นความสำคัญ คุณประโยชน์ การนำความรู้
ที่ไดจ้ ากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรบั ใชกั้บการประกอบอาชีพของตน การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง การนำความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ๆ ในชุมชน การตระหนักถึงความ
สำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the National Education Commission. (2002).National Education Act 1999. Bangkok : Sky Book.

United Nations Development Programme-UNDP.(2007). Human Development Report of Thailand 2007 Sufficiency Economy and Human Development. Bangkok : United Nations Development Programme in Thailand.

Office of the Royal Development Projects Board. (2007). The Portfolio Contest According to the Sufficiency Economy Philosophy. Bangkok : Office of the Royal Development Projects Board.

Phattiyathanee, Somnuek. (2001). Educational Measurement. 3rd. Kalasin : Prasarn Printing. 342 ว.มรม. ปีที่ 11 ฉบับพิเศษ 2560 RMU.J. 11 (Special Issue) 2017

Khamthod, Suriya. (2010). The development of school curriculum in social, religion and culture group on sufficient economy of prathomsuksa 4 students, Watnagnimit School. Master of Education (Elementary Education). Bangkok : Srinakharinwirot University.

Srinuan, Pinmanee. (2009). Study and Building the Development Program of Practices According to Sufficiency Approach of the 6th Primary School Student. Master of Education (Guidance Psychology). Bangkok : Srinakharinwirot University