การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสมเรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

จุฑามาศ กุลศรีโล
สุรกานต์ จังหาร
ประยงค์ หัตถพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มทดลอง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 32 คน โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน t-test (Dependent Samples)


         ผลการวิจัย พบว่า


  1. 1. กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.45/81.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

  2. 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( gif.latex?\bar{X}=2.78, S.D.=0.07)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย หลักภาษา และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

จำปี ไชยเมืองคูณ. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(1), 78-80.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงทพฯ: อักษรเจริญทัศน อจท. จำกัด.

โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม. (2563). แบบสรุปรายงานผลการทดสอบของโรงเรียน. มหาสารคาม: โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2559). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สมาน เอกพิมพ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่ปฏิบัติการออกแบบและพัฒนา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

อรพรรณ ธุนาบาล. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนควบกล้ำ เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 4(9), 45-51.

อัจฉรา ตาเล๊ะเจ๊ะโซะ. (2560). ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนเรื่องตามจินตนาการวิชาภาษาไทย โดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(2), 15-25.