การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ส่งเสริมความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง พอลิเมอร์

Main Article Content

พิมพ์ผกา คำอาจ
อรนุช วราอัศวปติ ศรีสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พอลิเมอร์ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test (One samples t-test)


            ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยวิธีการโต้แย้ง มีขั้นตอนการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการระบุภาระงานและถามคำถาม 2) ขั้นการออกแบบวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล 3) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อโต้แย้งชั่วคราว 4) ขั้นกิจกรรมการโต้แย้ง 5) ขั้นการอภิปรายอย่างชัดแจ้งและสะท้อนกลับ 6) ขั้นการเขียนรายงานผลการสำรวจตรวจสอบ 7) ขั้นการตรวจสอบโดยเพื่อน และ 8) ขั้นการปรับปรุงและส่งรายงาน แผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากและกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 71.03/72.42 และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง มีความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2563). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: ประสานการพิมพ์.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). วิธีวิทยาการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ทันใจ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภคพร อิสระ. (2558). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(2), 240-260.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2557). แนวการสอนวิทยาศาสตร์พิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิไลวรรณ ทรงศิลป์. (2560). การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(3), 175-184.

ศศิธร วิทยะสิรินันท์ ทิศนา แขมมณี และพิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). ทฤษฎีและแนวคิดร่วมสมัยเกี่ยวกับการคิดจากประเทศซีกโลกตะวันตก. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ: PISA และ TIMSS. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุพรรษา มันเทศสวรรค์ (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศและลมฟ้าอากาศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 381-392.

อัศวิน ธะนะปัด. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากร ธรรมชาติโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข. มส., 3(2), 14-24

Berland, L. K., & Reiser, B. J. (2011). Making sense of argumentation and explanation. Science Education, 93(1), 26-55.

Hodson, G. (2008). Interracial prison contact: The pros for (socially dominant) cons. British Journal of Social Psychology, 47, 325-351.

Leonard, P.E., & Leonard, L.J. (2001). The collaborative prescription: Remedy or reverie. International. Journal of Leadership in Education, 4(4), (383-399).

National Research Council (NRC). (2013). Next Generation Science Standards: For States, States. Washington DC: The National Academies Press.

Osborne, J., Erduran, S., Simon, S., & Monk, M. (2001). Enhancing the quality of argument in school science. School Science Review, 28(301), 63-70.

Osborne, J., Erduran, S., & Simon, S. (2004). Ideas, evidence, and argument in Science (IDEAS) in-service training pack, resource pack and video. London: Nuffield Foundation.

Osborne, J., MacPherson, A., Patterson, A., & Szu, E. (2012). Introduction of argumentation. In M. S. Khine, (Ed), Perspective on scientific argumentation: Theory, practice and research. Dordrecht: Springer.

Sampson, V., & Gleim, L. (2009). Argument-driven inquiry to promote the understanding of important concepts and practices in biology. The American Biology Teacher, 71(8), 465-472.

Sampson, V., Grooms J. & Walker, J. (2009). Argument-driven inquiry: Way to promote learning during laboratory activities. The Science Teacher, 42-47.

Sampson, V., Grooms, J., & Walker, J. P. (2010). Argument-Driven Inquiry as a way to help student learn how to participate in scientific argumentation and craft Written Arguments: An Exploratory Study. Science Education, 95(2), 217-257.

Sirhan, G. (2007). Learning difficulties in chemistry: an overview. Journal of Turkish Science Education, 4(2), 2-20.

Squire, K. Jan, M. (2007). Mad city mystery: Developing scientific argumentation skills with a place-based augmented reality game on handheld computers. Journal of Science Education and Technology, 16(1), 5-29.

Walker, J., Sampson, V., & Zimmerman, C. (2011). Argument-driven inquiry: An introduction to a new instructional model for use in undergraduate chemistry labs. Journal of Chemical Education, 88(10), 1048-1056.

Walker, J., & Sampson, V. (2013). Learning to argue and arguing to learn: Argument-driven inquiry as a way to help undergraduate chemistry students learn how toconstruct arguments and engage in argumentation during a laboratory course. Journal of Research in Science Teaching, 50(5), 561-596.

Walton, D. N., Reed, C., & Macagno, F. (2008). Argumen-tation Schemes. Cambridge: Cambridge University Press.

Wallace, C. S., Hand, B. and Prain, V. (2004). Writing and learning in the science classroom. Boston. MA: Kluwer Academic.