การสังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการบูรณาการการเรียนการสอน 2) สังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการการเรียน การสอน 3) พัฒนากิจกรรมการบูรณาการการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 1 2. แบบสอบถามแนวโน้มการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รอบที่ 2 และ 3. แบบสอบถามแนวโน้มการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รอบที่ 3 4. แบบประเมินคู่มือการจัดกิจกรรมการบูรณาการการเรียนการสอน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์
ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวโน้มการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีผลแยกตามแต่ละด้านดังนี้ 1. ข้อคำถามเพื่อศึกษาประเด็นการบูรณาการการเรียนการสอน 2. การเลือกรายวิชาที่จะนำมาบูรณาการการเรียนการสอน 3. แนวทางในการวัดและประเมินผล 4. เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 อยู่ระหว่าง 0-1 2) องค์ประกอบของรูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ด้านนโยบาย ส่วนที่ 2 ด้านการบูรณาการการเรียนการสอน และส่วนที่ 3 ด้านคู่มือการจัดกิจกรรมการบูรณาการการเรียนการสอน 3) คู่มือกิจกรรมการบูรณาการการเรียนการสอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กาญจนา ดงสงคราม. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ AOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงงาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, สถาบัน พฤติกรรมศาสตร์ มศว. 8(2) ; สิงหาคม.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายก รัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2530). เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR.วารสารวิจัยสังคมศาสตร์ 1, (มีนาคม 2530), 42-43.
ณรงค์ สมพงษ์ และคณะ. (2555). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาการศึกษา และอาชีพการเกษตรในท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 27(1), 97-110, มกราคม-เมษายน.
ธนพรรณ ธานี. (2540). การศึกษาชุมชน. ขอนแก่น:ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, บริษัทเพ็ญพริ้นติ้ง.
ปนัดดา กอมณี. (2552). แนวโน้มหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), กรกฎาคม-ธันวาคม.
พิมพ์พันธ์ เดซะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข และราเซน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงาน: การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทักษะในศตวรรษที่่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2548). การพัฒนารูปแบบกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์ . สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ/กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KMUTNB.the.2005.132
สมัย สลักศิลป์. (2562). การสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), กรกฎาคม-ธันวาคม.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557.
ศิคริษฐ์ คุณชมภู. (2560). การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), มกราคม-มิถุนายน.
อภิชาติ เหล็กดี. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การบริการวิชาการชุมชน. Verridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2613-2631, กันยายน-ธันวาคม.
อุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี ธรัช อารีราษฎร์ และละอองทิพย์ มัทธุรศ. (2561). การศึกษากรอบการบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. งานประชุมวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” วันที่ 6 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.