การพัฒนาทักษะชีวิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ โดยกำหนดให้นักเรียนมีคะแนนทักษะชีวิตร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 16 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 9 แผนการจัด การเรียนรู้ เวลา 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือสะท้อนผล ประกอบด้วย แบบบันทึกผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดทักษะชีวิตท้ายวงจร และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบวัดทักษะชีวิต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะชีวิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดทักษะชีวิตเท่ากับ 120.13 จากคะแนนเต็ม 144 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.42 ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 93.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไว้คือ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 30.88 จากคะแนน เต็ม 40 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 77.19 และนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมวิชาการ. (2543). แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (ชั้นปีที่ 10-12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กันตภณ พาหุมันโต และคณะ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบชี้แนะร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2).
จิตติ์โศภิณ บุญเชิด และวาสนา กีรติจำเริญ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14 (4), ตุลาคม-ธันวาคม 2563.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี . (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษาSocial Media with Education. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 7-20.
ธีรภัทร์ นิตยกุลเศรษฐ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), มกราคม-มีนาคม.
ปนัดดา นกแก้ว. (2562). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(4), ตุลาคม-ธันวาคม 2562.
มณฑนา บรรพสุทธิ์. (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 6(1), กรกฎาคม-ธันวาคม 2553.
โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานโรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม. โรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.
ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิทธิ์. (2554). การพัฒนาทักษะสังคมศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรธนา นันตาเขียน. (2560). ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(1), กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุวิธิดา จรุงเกียรติ. (2561). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4).
อิทธิพัทธ์ ศุภรัตนาวงศ์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(1), มกราคม-มิถุนายน 2562.
Barrows,S.H. & Tamblyn, P.M. (1980). Problem-BaseLearning: An Approach to Medical Education. New York: Springer Publishing.