อิทธิพลของภาวะติดงานและภาวะหมดไฟในการทำงาน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

Main Article Content

ธนพรรณ หอมช่วย
วรัญพงศ์ บุญศิริธรรมชัย

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความแตกต่างด้านประชากรศาสตร์ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระดับตำแหน่ง ลักษณะการทำงาน และอายุการทำงาน ที่มีผลต่อภาวะติดงานและภาวะหมดไฟในการทำงาน 2. ศึกษาอิทธิพลของภาวะติดงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน 3. ศึกษาอิทธิพลของภาวะหมดไฟในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง คือ พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จํานวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยเชิงพหุคูณด้วยวิธี Stepwise และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


            ผลการทดสอบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อภาวะติดงานของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน               แห่งประเทศไทย พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับตำแหน่ง ลักษณะการทำงาน และอายุการทำงาน มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ยกเว้น เพศ ที่ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับตำแหน่ง และอายุการทำงาน                มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ยกเว้น เพศ และลักษณะการทำงาน ที่ไม่แตกต่างกัน


            จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณของอิทธิพลของภาวะติดงานและภาวะหมดไฟในการทำงาน พบว่า ด้านการเรียกร้องผลการปฏิบัติงาน (β = .55, P < .01) และด้านการเป็นที่ยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน (β = .21, P < .01) ส่งผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ด้านบทลงโทษจากความผิดพลาดในการทำงาน (β = -.10, P < .05) และด้านอำนาจและความสามารถในการควบคุมงาน (β = -.10, P < .05) ส่งผลเชิงลบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (β = .22, P < .05) ส่งผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านความสำเร็จส่วนบุคคลลดลง (β = -.37, P < .01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทำงานติดต่อกันเป็นระยะยาวนานและเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สืบค้นจาก https:// digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:4320

ณัฐสิณีนันท์ เมธากาญจนา. (2562). ความเครียดและความเบื่อหน่าย ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัทเอ็นเอ แคลเทคโนโลยี จำกัด (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,). สืบค้นจาก http://www. repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3843

นวลพรรณ ชื่นประโยชน์. (2554). ความเหนื่อยหน่ายในการทํางาน ความผูกพันในงานและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานสินค้าเกษตรส่งออก (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สืบค้นจาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:120133#

นัยนา แสงทอง. (2555). ความเครียดและความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000008798

ติรยา เลิศหัตถศิลป์. (2011). ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของจิตแพทย์ในประเทศไทย. J Psychiatr Assoc Thailand, 56(4), 437-448.

ภานุวัฒน์ กลับศรีอ่อน. (2557). สภาวะบ้างาน: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2),300-311.

วัฒนา ศรีวิลัย และกล้าหาญ ณ น่าน. (2564). ความเครียดและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการวิทยาลัย สันตพล, 7(2), 34-42.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล และพรชัย สิทธิศรัณย์กุล. (2561). ภาวะติดงาน: แนวคิด ความหมายและผลกระทบต่อการทำงานและองค์กร. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 18(2), 249-257.

ศิวา หลาบคํา และกล้าหาญ ณ น่าน. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทํางานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา:บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จํากัด (มหาชน). วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 26-433.

เฉวียง วงค์จินดา และ วรพรรณ รัตนทรงธรรม. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ความพึงพอใจในงานและ ความสําเร็จในงานของนักบัญชีบริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอของประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 15-24.

Cecilie Schou Andreassen. (2014). Workaholism: An overview and current status of the research. Journal of Behavioral Addictions, 3(1), 1-11.

Cecilie S. Andreassen, Arnold B. Bakker, Bjørn Bjorvatn, Bente E. Moen, Nils Magerøy, Akihito Shimazu, Jørn Hetland and Ståle Pallesen. (2017). Working Conditions and Individual Differences Are Weakly Associated with Workaholism: A 2-3-Year Prospective Study of Shift-Working Nurses. Journal of PubMed Central (PMC), 8, 2045.

Grant, A. M., Christianson, M. K., & Price, R. H. (2007). Happiness, health, or relationships? Managerial practices and employee well-being tradeoffs. The Academy of Management Perspectives, 21(3), 51-63.

Kate Sparks, Brian Faragher and Cary Cooper. (2001). Well-Being and Occupational Health in the 21st Century Workplace. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 74(4), 489-509.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. 2nd ed. New York: Guilford.

Korunka, C., Kubicek, B., Paškvan, M., & Ulferts, H. (2015). Changes in work intensification and intensified learning: Challenge or hindrance demands? Journal of Managerial Psychology, 30(7), 786-800.

Maslach, C., & Jackson, S. E. (1986). Maslach burnout inventory manual. 2nd ed. Palo Alto, California: Consulting Psychologists Press.

Peterson, E & Plowman, E. (1953). Business Organization and Management. Homewood, Ill. : R.D. Irwin.

Rezvani A, Bouju G, Keriven-Dessomme B, Moret L and Grall-Bronnec M. (2014). Workaholism: are physicians at risk? Occup Med (Lond) , 64, 410-6.

Santrock J. W. (2003). Psychology 7. No. 7. New York. Mc Craw Hill.

Schwab, R. L., & Iwanicki, E. F. (1982). Who are our burned out teachers? Educational Research Quarterly, 7(2), 5-16.

Taris TW, Van Beek I and Schaufeli WB. (2012). Demographic and occupational correlates of workaholism. Psychol Rep, 110, 547-54.

Van Wijhe, Peeters, and Schaufeli. (2013). Irrational beliefs at work and their implications for workaholism. Journal of occupational rehabilitation, 23(3), 336-346.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. New York: Harper and Row.