การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

รุจิรัตน์ งอกงาม
พรรณวิไล ดอกไม้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม และ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20-0.65 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.17-0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 3) แบบสอบถามวัดจิตวิทยาศาสตร์ แบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 อำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.30-0.74 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95  สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถิติทดสอบ Paired Samples t-test


            ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4             มีคะแนนการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 21.06 (S.D.= 2.70) และค่าเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 27.13 (S.D.= 2.48) เมื่อวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างของการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน พบว่า การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้               โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีคะแนนจิตวิทยาศาสตร์เฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 3.04 (S.D.=0.25) และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 3.87 (S.D.=0.16) เมื่อวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างของจิตวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน พบว่า จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนซึ่งอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

กมลกานต์ พานชาตรี. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

กฤษฎา หัดหรอ จุฬารัตน์ ธรรมประทีป และนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัด ภูเก็ต. วารสารบริหารธุรกิจและภาษา, 5(2), 47.

จริยา พิชัยคำ. (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 4.

จรรยา เจริญรัตน์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบโครงงาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 182.

จีรวรรณ ขุริรัง. (2553). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 190-191.

นภาพร สกุลธรรม. (2560). ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการจิตวิทยาศาสตร์ กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(ฉบับพิเศษ), 28-32.

นูรไอนี ดือรามะ และณัฐินี โมพันธ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร อัล-นูรบัณฑิตวิทยาลัย, 12(22), 1-15.

ประกายมาศ บุญสมปอง. (2557). กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

มยุรี เจริญศิร. (2558). การสร้างชุดการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และ จิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 1045.

รัตยา สงอุปการ. (2551). ผลการใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2), 104.

โรงเรียนบรบือวิทยาคาร. (2563). รายงานการประเมินตนเองของ สถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) โรง เรียนบรบือวิทยาคาร ปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม: โรงเรียนบรบือวิทยาคาร.

ลุฏฟี ดอเลาะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิภาดา พินลา. (2559). กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียน ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 362.

ศศิธร อินตุ่น. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่ส่งผลต่อการสร้างองค์ความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 4-6.

สุวรรณี สุนธงศิริ และอังคณา ตุงคะสมิต. (2558). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสอนแบบ โครงงานร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธิ์แก้วประชาสรรค์จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 189-190.

สุทธินิ แร่นาค ภัทราพร เกษสังข์ และนฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์. (2557) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย). วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 9(29), 3-4.

สุนจรี ศรีบุตตะ จีระพรรณ สุขศรีงาม และมยุรี ภารการ. (2555). การเปรียบเทียบผลการเรียนเทคนิคการคิดด้วยทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติฟิสิกส์: การสะท้อนของแสง การหักเหของแสงและการเห็น และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลการเรียนฟิสิกส์ต่างกัน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 159.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานพื้นฐาน. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นตี้ง.

ศิริวรรณ สาธุพันธ์ เฉลิมพล สวัสดิ์พงษ์ อรธิดา ประสาร และจำเริญ อุ่นแก้ว. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(3), 60.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2554). โครงงานเทคโนโลยีคืออะไร. นิตยสาร สสวท, 39(172), 18-26.

Faridah Musa., Norlaila Mufti., Latiff, R. A., and Amin, M. M. (2012). Project-based learning (PjBL): inculcating soft skills in 21st century workplace. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 59, 565-573.

Nguyen, T. T. (2017). Developing Important Life Skills through Project-Based Learning: A Case Study. The Normal Lights, 11(2), 109-142.

Nur H. A., and Tuan M. T. S. (2019). The Effect of Project-Based Learning (PjBL) on Critical Thinking Skills Form Four Students on Dynamic Ecosystem Topic “Vector! Oh! Vector!”. Creative Education, 10, 3107.

Parwati N. W., Suarni N. K., Suastra I. W. and Adnyana P. B. The effect of project based learning and authentic assessment on students’natural science learning outcome by controlling critical thinking skill. Journal of Physics, Conf, 1.