การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายเราสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สิริราช ถูกดี
พรรณวิไล ดอกไม้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา โดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 24 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.80-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.38-0.80             ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน แบบประมาณค่า            5 ระดับ จำนวน 21 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.62 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนที่มีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในวงจรปฏิบัติการทั้ง 3 วงจร โดยก่อนเรียนผู้เรียนมีคะแนนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยแต่ละขั้นตอนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 38 คน              แต่หลังจากการจัดเรียนการสอนด้วยรูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 3 วงจร พบว่า ผู้เรียนมีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยมีคะแนนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในวงจรปฏิบัติการที่ 3 คือ (gif.latex?\bar{X} =7.42, S.D.=0.89) และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่


  1. ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ด้านสื่อ/อุปกรณ์ และ 3. ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ( gif.latex?\bar{X}=4.26, S.D.=0.24) อยู่ในระดับมาก 2. ด้านสื่อ/อุปกรณ์ ( gif.latex?\bar{X}=4.50, S.D.=0.29) อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. ด้านการวัดและประเมินผล ( gif.latex?\bar{X}=4.60, S.D.=0.12) อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร เป้าสุวรรณ และคณะ. (2550). ความคาดหวังและความพึง พอใจต่อการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุโขทัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กรมวิชาการ. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ 2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เฉลิมพร เตชะพะโลกุล และคณะ. (2562). การศึกษาการประยุกต์ห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของผู้เรียนในรายวิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์. วารสารชุมชนวิจัย, 13(3), 173-187.

ทวิมา ศิริรัศมี และสรวุฒิ พงศ์โรจน์เผ่า. (2563). การจัดการเรียน การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. JMed Health Sci, 7(1), 136-146.

ทิชานันท์ ชุมแวงวาปี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส21103. วารสารศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 7-14.

วรัทยา มณีรัตน์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส สำหรับผู้เรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(65), 19-27.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศตวรรษที่ 2 [จุลสาร]. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2.

Bergmann, J. and Sam A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Day. Washington DC: International Society for Technology in Education.

Herzberg, F., Bernard, M. & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey & Sons.

McMahon, Wendy. (2013). The Flipped Classroom 101. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 จาก ww.downloads01.smartech.com/media/sitecore/en /edco.

Polya, G. (1957). How to Solve It. New York: Doubleday & Company.