การศึกษาทักษะความเป็นพลเมืองดี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยยายจิ๋ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะความเป็นพลเมืองดี รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยยายจิ๋ว โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ให้นักเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยยายจิ๋ว โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 21 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว (One-Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ จํานวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะความเป็นพลเมืองดี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะความเป็นพลเมืองดี รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จํานวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 80.95 และมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.05 คิดเป็นร้อยละ 70.25 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จํานวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 76.19 และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.19 คิดเป็นร้อยละ 70.63 3) ความพึงพอใจในของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.65)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 65-80.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก http://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/123(2).pdf.
กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่การเรียนรู้,8(1), (มกราคม-มิถุนายน), 141-171.
กลุ่มงานฝ่ายวิชาการโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยยายจิ๋ว. (2563).รายงานการเรียนการสอนปีการศึกษา 2563. ชัยภูมิ: โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยยายจิ๋ว.
คณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้านพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี. (2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองพ.ศ. 2553-2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศและความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, 5(2).
ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2556). คุณลักษณะพลเมืองดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ปริญญา อันภักดี. (2558). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม โดยจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ วิชา IPST-MicroBOX ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมแพศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภาสุดา ภาคาผล และมนังค์ อังควาณิช. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กิจกรรมบริการสังคมเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 1914-1929.
เวชพล อ่อนละมัย. (2556). พลเมืองดีตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, จาก http://www.kasetyaso.ac.th/ thai%20cultule/08.pdf.
วสันต์ พรพุทธิพงศ์ และคณะ. (2558). การรับรู้หน้าที่พลเมืองดีของเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 1331-1339.
ศรัณยู หมื่นเดช. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แบบโครงงานร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), เมษายน -มิถุนายน 2563.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อังคณา ตุงคะสมิต. (2559). ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก http://pipatkhunwong2.blogspot.com/2018/02/
อาภรณ์ แสงรัศมี. (2543). ผลการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.