การออกแบบและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

จินตนา กสินันท์
ชัชวาล ชุมรักษา
ขรรค์ชัย แซ่แต้
ศิลป์ชัย สุวรรณมณี
พลากร คล้ายทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง กลุ่มเป้าหมายได้จากการเข้าร่วมโครงการแบบอาสาสมัครประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนตำบลลานข่อย ชาวชุมชนลานข่อย รวมจำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการศึกษาจากข้อมูลเอกสาร   การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์ไม่เป็นทางการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง การเสวนากลุ่มย่อยกับผู้นำชุมชนลานข่อย วิเคราะห์ข้อมูล              ด้วยวิธีการอุปนัย (2) เพื่อประเมินผลการใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง จากกลุ่มนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป จำนวน 356 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนลานข่อยมีความต้องการสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19              ที่สามารถเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์โดยเฉพาะสื่อคลิปวิดีโอสั้น ๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ นักท่องเที่ยวทุกช่วงวัย เนื้อหาในสื่อสามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์เด่นของชุมชนลานข่อยในด้านต่าง ๆ ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาสื่อคลิปวีดิโอเป็นการนำเสนอ            ผ่านมุมมองในการเล่าเรื่องการเดินทางมาท่องเที่ยวยังชุมชนลานข่อยของตัวละคร รายละเอียดเนื้อหาในสื่อประกอบด้วย 1) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางน้ำที่จัดให้มีกิจกรรมการล่องแก่งและล่องเรือในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ชุมชนลานข่อย 2) กิจกรรมไหว้พระขอพรกับหลวงพ่อพร้อม ที่วัดลานข่อย 3) ที่พักในพื้นที่ลานข่อย 4) ร้านขายสินค้าของชุมชนและของที่ระลึก 5) ร้านอาหารในพื้นที่ชุมชนลานข่อย และผลการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม                    จังหวัดพัทลุง พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.82, S.D.= 0.52) สามารถใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร            ด้านการท่องเที่ยวได้ (2) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.49, S.D.= 0.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วงศ์วรุตม์ อินตะนัย, พีรพงษ์ พันธะศรี และบัญชา จุลุกุล. (2564). การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ของการแสดงพื้นบ้านที่ปรากฏในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 124-140.

พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2552). การผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). หลังโควิดเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส. สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/th/4815/

ศิริประภา ประภากรเกียรติ และ รัตนโชติ เทียนมงคล. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. สืบค้นจาก http://202.28.34.124/ dspace/handle/123456789/673.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). เร่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นจังหวัดนำร่องของประเทศ หลังวิกฤติ COVID-19 ยุติลง. สืบค้นจาก http://122.155.92.12/ centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=TCATG200507112045880.

อภิวรรณ ศิรินันทนา, เสาวนีย์ วรรณประภา และกรรณิกา พงษ์ชัย. (2562). การศึกษารูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 66-79.

David W. Guth, Charles Marsh. (2003). Public relations: a values-driven approach.Boston: Allyn and Bacon.