การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ มัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

จริยา ปัดถาเดช
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ก่อนและหลังเรียน เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 นักเรียนจำนวน 36 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การทดสอบที (t-test dependent)


          ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมมาก (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ อยู่ในระดับดี (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนันพัฒน์ วรรณวิจิตร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยและนานาชาติ, 2, 702-714.

ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(3), 126-139.

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ ไทซิ่งกรู๊ฟ.

ประดับศิลป์ ชากำนัน. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.

วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 271-280.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). รายงานประจำปี 2554 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565,จาก https://po.opdc.go.th/content/MTA0

สกาวเดือน ไชยสา. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอน แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Jigsaw L.T G.I). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 141-148.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: SE-ED.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). รายงาน ประจำปี 2554 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565, จาก https://po.opdc.go.th/content/MTA0

อดิศรา เรืองสนาม. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (LT) เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม, 72-76.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไอดา ยาคอ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1), 31-42.