การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองเรือวิทยา จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ได้แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน การประเมินความเหมาะสมได้ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.82 ถึง 5.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7210 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2562, มิถุนายน 17). ปัญหาหลักของการศึกษาไทย, สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com
ชนินทร์ พุ่มบัญฑิต. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเทคนิคการสอนแบบร่วมมือ (Learning Together: LT) สำหรับการเรียนการสอนวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1), 61-73.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (ครั้งที่พิมพ์ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาศิริ ปราโมทย์. (2562). การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือควบคู่กับเกมส์เพื่อส่งเสริมผลการเรียนและลักษณะอังพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 30(2), 110-127.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2564). ประกาศผลการประเมิน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564, จากhttp://www.newnetresult.niets.or.th
สุคนธ์ สินธพานนท์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, จินตนา วีรเกียรติสุนทร และพิวัสสา นภารัตน์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (The Twenty-First Century Skills). สืบค้นจากhttps://www.trueplookpanya.com
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564 จาก https://person.mwit.ac.th
โสรัจจ์ แสนคำ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1506-1522.
อมร เมยมงคล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ, 8, 3071-3080.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ไอดา ยาคอ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1), 31-42.