รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพโรงเรียนตะคร้อพิทยา อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ศรีภาวรรณ ไสโสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โรงเรียนตะคร้อพิทยา อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน โดยเป็นมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งหมด 382 คน


            ผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โรงเรียนตะคร้อพิทยา อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 1) ด้านสภาพแวดล้อมพบว่าสภาพแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อเช่นเดียวกัน 2) ด้านปัจจัยการดำเนินงานพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ 3) ด้านกระบวนการ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อเช่นเดียวกัน 4) ด้านผลผลิต พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ระดับพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนตะคร้อพิทยา โดยครูประเมินตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ระดับพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของครูอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด 3 อันดับ คือ ครูใช้วิธีการสอนหลายวิธี (เช่น การทำงานกลุ่ม โครงงาน จับคู่ ใบงาน ใบกิจกรรม ฯลฯ) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมการเรียนสนุก และน่าสนใจ และครูส่งเสริมให้ทดลอง/ทำงานในห้องปฏิบัติการหรือนอกชั้นเรียนบ่อย ผลการประเมินของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด 3 อันดับ คือ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิดาภา ใจห่อ. (2559). การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านท่ามะกา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ด้วยรูปแบบ CIPP Model. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จากhttps://www.kan2.go.th/offline/index.php/2016-05-30-01-16-54/category/117-610607-1606-7

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2560). การคิดเชิงวิพากษ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). Child center เหมาะกับการเรียนการสอนแบบใด. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/68591

นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์. (2561). การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา.วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 1(2), 19-33.

ปูริดา จิระพันธ์ทวีวงศ์. (2563). การประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านควนนิมิต อำเภอกาญจนดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=177653&bcat_id=16

พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์ จำกัด.

วรรณี ภิรมย์คำ. (2562). รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดบึงลาดสวาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จาก http://edu.kps.ku.ac.th/research/Abstract/bungladsawai.pdf

วีระเชษฐ์ ปัญจอริยะกุล. (2562). การประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านไผ่ล้อม (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 46). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564, จาก http://phrae1.com/main/?q=node/2795

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สถาพร สมอุทัย. (2565). “การนิเทศการศึกษา” หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(3), 275-288.

สัญชัย พูลสุข. (2562). การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จาก http://www.nst2.go.th/?p=26410

สุจินต์ ภิญญานิล และคณะศึกษานิเทศก์. (2561). การนิเทศติดตาม การพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APDER. สุราษฎร์ธานี: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11.

สุดใจ ฝูงใหญ่. (2556). การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนอนุบาลบางละมุงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.