ผลการทดลองใช้ กิจกรรมการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองใช้ กิจกรรมการบูรณาการการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเลือกเสรี รายวิชาเทคโนโลยีเนื้อหาดิจิทัล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน กลุ่มที่ 2 ชุมชนในเขตจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นเจ้าขององค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในชุมชน จำนวน 10 ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมของนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรม 2) แบบประเมินสื่อ/ชิ้นงาน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการบูรณาการ 4) แบบสอบถามการรับรู้ของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการบูรณาการ 5) แบบสอบถามความความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อกิจกรรมการบูรณาการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-dependent)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1.1) คะแนนทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2) การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเตรียมการ ขั้นตอนลงพื้นที่ถ่ายทำสื่อ และขั้นตอนหลังการผลิตสื่อ โดยรวมนักศึกษาแสดงพฤติกรรมปฏิบัติตามคำแนะนำทุกครั้งอยู่ระหว่างร้อยละ 88.24-100.00 และ 1.3) การประเมินสื่อ/ชิ้นงาน กลุ่มนักศึกษามีคะแนนประเมินสื่อ/ชิ้นงานอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรม การบูรณาการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การรับรู้ของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการบูรณาการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อกิจกรรมการบูรณาการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กาญจนา ดงสงคราม. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ AOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงงาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ดนุพล บุญชอบ. (2558). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โครงงาน ระหว่างกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสานและกลุ่มปกติ รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลี่วิทยา. Veridian E-Journal Silpakorn university, 8(2),(พฤษภาคม- สิงหาคม).
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา สุภาภรณ์. (2552). การรับรู้ของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุขในชุมชนบางไผ่. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2565). สถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ปรีดา พูลสิน. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชน วัดโสมนัส. วารสารวิจัยและพัฒนา, 4.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพลักษณ์ โมรา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน: ทางเลือกในการจัดการศึกษาสำหรับในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 8(1), มกราคม-มิถุนายน 2561.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2548). การพัฒนารูปแบบกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ไพศาล วรคำ. (2565). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ลักขณา สริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564.
อุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี, ธรัช อารีราษฎร์ และละอองทิพย์ มัทธุรศ. (2565). การสังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(3), (กันยายน-ธันวาคม 2565).
Cohen , J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Devel-opment Participation: Concept and Mea-sures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Com-mittee Center for International Studies, Cor-nell University.
Riyanti, Menul Teguh; Erwin, Tuti Nuriah; Suriani, S.H. (2017). Imprementing Project Based Lerning Approach to Graphic Design Couse. Journal of Education and Practice, 8(15), 173-177.