การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 คน โรงเรียนบ้านโคกสว่าง จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟัง จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการการพูด จำนวน 10 ข้อ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test (One Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.33/79.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (75/75) (2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) มีความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผ่านร้อยละ 79.30 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) มีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผ่านร้อยละ 80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D. = 0.38)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ฯ.
กรมวิชาการ. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร ทิพยสุข. (2564). การพัฒนาทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองเป็นฐาน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 116-123.
ภัทราวดี ยวนชื่น. (2556). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟัง การพูดภาษาอังกฤษและความสนใจในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติกับแนว กาสอนแบบเดิม. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 184-194.
วิภาวี ไชยทองศรี. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการใช้สถานการณ์จำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 120-136.
ศิริรัตน์ ถูวะสี (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้สถานการณ์จําลอง โรงเรียนบ้านกุดสะเทียนใหม่ศรีทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 4(1), 23-28.
สุวิทย์ มูลคำ. (2546). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ฯ.
อัจฉรา วงค์โสธร. (2543). การทดสอบและการเรียนรู้. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Anderson, A., & Lynch, T. (1988). Listening: Oxford: Oxford University Press.
Bailey, K., & Savage, L. (1994). New ways in teaching speaking. Alexadria, VA: TESOL.
Brozik, Doris. (1999). An Investigation in Adult Education Learning to Determine If Simulation Enhance Communication Skills. Dissertation Abstract International, ED437079.
Lyn, Y. (2006). Simulation and Second/Foreign Language Learning: Improve Communication Skill through Simulations. University of Taledo. Master Thesis.
Morley, M. (2001). Aural comprehension instruction: Principles and practices. In M. CelceMurcia (Ed.), Teaching English as a second or foreign language (3rd ed.), 69-85. Boston: Heinle & Heinle.
Shumin, K. (1997). Developing adult EFL students’ speaking ability. Forum. (online), 35(3), 8.