ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ติณณภพ ร่มศรี
วัชรินทร์ สุทธิศัย
สิทธิพรร์ สุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานบริการ 2) ศึกษาระดับการพัฒนางานบริการ            3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานบริการ และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนางานบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค                     เขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.948                  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 400 คน ซึ่งคำนวณด้วยสูตรของ Yamane สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ข้อเสนอแนะใช้การแจกแจงความถี่และพรรณนาความ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการพัฒนางานบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานบริการ โดยรวมทั้ง 4 ปัจจัยสามารถทำนายการพัฒนางานบริการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงลำดับการเข้าสู่สมการตามความสัมพันธ์ คือ                     ลักษณะกายภาพ ความเอาใจใส่ ความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือ ซึ่งร่วมกันทำนายการพัฒนางานบริการได้ร้อยละ 71.60 มีค่า R2 เท่ากับ .716 และมีค่า F เท่ากับ 249.493 4) ข้อเสนอแนะ 3 ลำดับแรก คือ เพิ่มสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพิ่มความเร็วในการซ่อมแซมเหตุไฟฟ้าขัดข้อง และมีการให้คำแนะนำติดตามลูกค้าเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กองวางแผนวิสาหกิจ. (2555). ข้อมูลสำคัญ กฟภ. กรุงเทพฯ: ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). ข้อมูลผู้ใช้ไฟ. ร้อยเอ็ด: สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดร้อยเอ็ด.

ฐิตวันต์ หงส์กิตติยานนท์. (2556). องค์กรแห่งความเป็นเลิศ. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2562, จาก http://www.teacher.ssru.ac.th/indexs.php/th/news/

ธัญวลัย มาตรา. (2557). ความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์กับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลในเขตอําเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 167-180.

ปฐมพงศ์ กุกแก้ว และวัชรพงษ์ เงินเรืองโรจน์. (2563). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(2), 55-63.

ประภาพร สิงห์ทอง และทัตษภร ศรีสุข. (2564). ปัจจัยการให้บริการเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ กรณีศึกษาสำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 159-172.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิวัฒน์ อยู่พร้อม และสุภา ทองคง. (2564). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอยู่อาศัยในพื้นที่บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(1), 18-30.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). ขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อการทำวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(-), 19.

สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2555). คู่มือหลักการการให้บริการที่ดี ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

Edward Otieno Owino. (2013). The influence of service quality and corporate image on customer satisfaction among university students in Kenya. Thesis of the degree of Philosophy. Business Administration. Nairobi: University of Nairobi.

Parasuraman A., Zeithaml; Valarie A. and Berry, Leonard L. (1988). “Servqual: A multiple-Item scale for measuring consumer perceptions of Service Quality.” Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Tokyo: John Weatherhill.

Tenner and Detoro. (1992). Total quality managenent : Three step to continouous improvenment reading, M.A. New York: Addison-Weslay.