การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนการสอนแบบโครงงานสำหรับการบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนการสอนแบบโครงงานสำหรับการบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาการยอมรับคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนการสอนแบบโครงงานสำหรับการบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มเป้าหมาย คัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 1 นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเลือกเสรี รายวิชาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน กลุ่มที่ 2 ชุมชน ในเขตจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเจ้าของชุมชนหรือธุรกิจในชุมชน จำนวน 2 ชุมชน กลุ่มที่ 3 อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ คัดเลือกโดยการสมัครใจ จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา 2) แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงาน 3) แบบสอบถามการรับรู้ของนักศึกษา 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของชุมชนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่า Paired Samples t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนการสอน ประกอบด้วย 2 ส่วน 1) ผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากนักศึกษา 1.1) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้แก่ (1) คะแนนทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) การประเมินผลงาน/ชิ้นงาน อยู่ระหว่างร้อยละ 80.00-81.67 (3) การรับรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับดีมาก (4) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับมาก 1.2) ผลจากการเก็บข้อมูลจากชุมน ได้แก่ความคิดเห็นของชุมชนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับมาก และ 2. ความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กีระติกาญน์ มาอยู่วัง. (2563). การประยุกต์ใช้สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับรายวิชาการเมืองการปกครองของไทยของไทยรหัสวิชา 3000-1505. วารสารวิชาการ T-VET journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 4(8),11-23.
กุลจิรา รักษนคร. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสอดแทรก เรื่องลดมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เทิดไท้องค์ราชันย์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถม (ศึกษาศาสตร์). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 25-32.
เกริกฤทธิ์ นิลอุบล, ชูศักดิ์ เอกเพชร และสถาพร สังขาวสุทธิรักษ์. (2563). การพัฒนาคู่มือครูการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1. วารสารมหาจุฒานาครทรรศน์, 7(10), 182-196.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2561). การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ทางเลือกหนึ่งในการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัย. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 1-32.
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 218-253.
นิวัฒน์ รักษ์รอด, นิตยา กันตะวงษ์ และพรศักดิ์ อาษาสุจริต. (2558). วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 87-101.
ปราณี อัศวภูษิตกุล. (2562). การเรียนการสอนโดยการบริการสังคม ในหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 12(1), 98-111.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมาย วงค์ทา, ธรัช อารีราษฎร์ และละอองทิพย์ มัทธุรศ. (2563). รูปแบบการบูรณาการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่บริการ วิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 63-76.
พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ศรีวรรณ มีบุญ, พรรณภา เรืองกิจ,อาทิตยา แก้วน้อย และรุ่งนภา โพธิ์แสน. (2563). รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการพันธกิจเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 158-176.
วราพร กรีเทพ. (2563). กระบวนการการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, (21)2, 143-158.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.
สมจินดา ชุมพูนิท และวรรณเพ็ญ อินแก้ว. (2560). การบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลเลือกสรร สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน.วารสารพยาบาลตำรวจ, (9)1, 24-36.
สุเทพ ไชยวุฒิ, เกตุมณี มากมี และศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. (2560) การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 13(2), 129-146.
สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 (พ.ศ.2560-2579).
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สนง.คณะกรรมการอุดมศึกษา.
อภิชาติ เหล็กดี. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การบริการวิชาการชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn, 11(3), 2613-2631.
อภิชาติ เหล็กดี, ณัฐพงษ์ พลสยม และณพรรธนนท์ ทองปาน. (2563). รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสินค้นชุมขนด้วยเทคโนโลยี AR. วารสารวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 84-94.
Best W. John. (1997). Research in Education. Boston MA.: Allynand Bacon.
Bingham, S.. (2021). Creating Transformative Service Learning Partnerships as a Force for Change in Higher Education. Emphasizing the Impact of Service-Learning and Community Engagement Partnerships Amid Challenges Facing Higher Education. International Journal of Research on Service-Learning and Community Engagement. 9(1). Retrieved October, 18, 2022,from, https://ijrslce.scholasticahq.com
Center for Community-Engaged Learning, University of Minnesota. Benefits of Community-Engaged Learning. Retrieved October 20, 2022, from https://ccel.umn.edu/faculty/teaching-community-engaged-learning/benefits-community-engaged-learning.
Mann, J. & Bowen, A. G.. (2021). Emphasizing the Impact of Service-Learning and Community Engagement Partnerships Amid Challenges Facing Higher Education. International Journal of Research on Service-Learning and Community Engagement, 9(1). Retrieved October, 18, 2022, from,https://ijrslce.scholasticahq.com