การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเกมทางภาษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเกมทางภาษา กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 คน โรงเรียนบ้านแวงยางกุดตะเข้ ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เมื่อสิ้นสุดวงรอบที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 22.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.16 เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์แล้ว พบว่า การจัดการเรียนการสอนในวงรอบที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3 ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 70 แต่มีนักเรียน 1 คน ทำคะแนนในการทำแบบทดสอบท้ายวงรอบที่ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ในวงรอบที่ 2 พบว่า ผลการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4-6 นักเรียนมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเฉลี่ย 26.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.16 และมีผู้ผ่านเกณฑ์ ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 80 ทั้งหมด 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กําไร สาริยา. (2564). การใช้เกมเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการจดจําคําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหทัยคริสเตียน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(2), 29-34.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน: การจัดการศึกษาบนบริบทแห่งความท้าทาย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 107-118.
ณภัทริน เภาพาน, ลดาวัลย์ วัฒนบุตร, สุณี สาธิตานันต์ และสกล สรเสนา. (2554). การศึกษาผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 57-66.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาดา อินทะผิว. (2562). การใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำแคม โรงเรียนบ้านปากยางและโรงเรียนบ้านห้วยด้าย ตําบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 5(2), 49-60.
โสภิตา มูลเทพ. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 550-568.
อภิสรา พงษ์ชาติ. (2564). การใช้เกมคำศัพท์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 98-105.
Joyce, B. & Weil, M. (2000). Models of Teaching (6 th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.
Linse, C. T. & Nunan, D. (Ed). (2005). Practical english language teaching: Young learners. New York: McGrawHill ESL/ELT.