แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นริสรา โรยรส
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะการทำงาน   เป็นทีมของครู สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะ        การทำงานเป็นทีมของครู สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ วิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ           คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มตัวอย่าง          คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 196 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทาง                การพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู เครื่องมือคือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู


            ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์                  ของสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็น คือ 1) ด้านการสร้างความร่วมมือ             2) ด้านการตัดสินใจ 3) ด้านการสื่อสาร 4) ด้านความไว้วางใจ และ 5) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงาน           เป็นทีม คือ คู่มือพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู และผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การัณยภาส ศิวะกรภูริหิรัญ และธัชชัย จิตรนันท์. (2560).การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 38-48.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จรีพร โชติพิบูลย์ทรัพย์. (2560). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 จาก http://ebook. ocsc.go.th/Home/About/76?group=1.

ไฉไลศรี เพชรใต้ และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษญวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 170-184.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2546). การสร้างทีมงานทีมีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ฐิตารีย์ สุขบุตร และสิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(3), 71-81.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช. (2542). การวิเคราะห์การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยของประเทศในเอเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

นิภาภรณ์ ซ้ายโพธิ์กลาง และศิวะกรณ์ กฤษสุวรรณ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยรมหาสารคาม, 24(2), 80-95.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์พัฒน์ ศิริพินยาวงศ์ และธรินธร นามวรรณ. (2564). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 5(2), 100-112.

ประหยัด ชำนาญ และสาคร อัฒจักร. (2563). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมสำหรับสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(76), 77-89.

พงศธร รุ่งโรจน์ และสุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 416-425.

ไพโรจน์ บาลัน. (2553). ทักษะการบริหารทีม. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2551). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รุ่งศักดิ์ ศิวาชัญ. (2558). ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจสรรถนะหลักของผู้นำในทุกยุคทุกสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ศรัญญ พงศ์ประเสริฐสิน. (2554). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กาฬสินธุ์: สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2560). คู่มือการดำเนินงาน กศน.ตำบล กลุ่มแผนงานสำนักงาน กศน. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษาฯ.

สุนันทา เลาหนันท. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measuremen, 30(3), 607-610.