คนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านท่าแร่: การปรับปรนทางพหุลักษณ์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

พจน์โสภณ ดำรงไทย
ศาสตรา เหล่าอรรคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของการปรับปรนทางพหุลักษณ์วัฒนธรรมในชุมชนท่าแร่จังหวัดสกลนคร และ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการปรับปรนทางพหุลักษณ์วัฒนธรรมในชุมชนท่าแร่จังหวัดสกลนคร โดยพื้นที่ศึกษา คือชุมชนท่าแร่ การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้หลักการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ คนที่นับถือศาสนาคริสต์ และนับถือศาสนาพุทธในชุมชนท่าแร่ จำนวน 22 คน ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยผ่านการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าในด้าน เวลา สถานที่ บุคคล


ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาของการปรับปรนทางพหุลักษณ์วัฒนธรรมในชุมชนท่าแร่ เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีคนพื้นเมืองและคนเวียดนามอาศัยอยู่ร่วมกัน ต่อมาได้เผชิญเหตุการณ์การถูกเบียดเบียนศาสนาจากนโยบายชาตินิยมของรัฐ ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นสื่อกลางการปรับปรนในวิถีชีวิตคนพื้นเมืองและคนเวียดนาม ส่งผลให้ชุมชนร่วมกันคิดสร้างอัตลักษณ์ขึ้นเพื่อแสดงถึงประวัติศาสตร์ชุมชนท่าแร่


ส่วนสภาพปัจจุบันของการปรับปรนทางพหุลักษณ์วัฒนธรรมในชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร พบว่า วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่  ในชุมชนท่าแร่ได้รับอิทธิพลจากนโยบายภาครัฐในบริบทด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่งผลให้คนในชุมชนมีการร่วมกันพัฒนาประเพณีแห่ดาวคริสต์มาส ซึ่งเป็นการปรับปรนทางพหุลักษณ์วัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีอาหารเวียดนามที่เป็นจุดดึงดูดของชุมชน สิ่งสุดท้ายคือสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสผสมเวียดนามที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชนที่ใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง. (2547). กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร.สกลนคร: ศูนย์พัฒนาฟื้นฟูและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปริญญา เสมอพิทักษ์, บาทหลวง.(บรรณาธิการ). (2555). หนังสืออนุสรณ์ 125 ปี ท่าแร่. สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.

ผุสดี จันทวิมล. (2541). เวียดนามในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระวิชิต สุขศิริ. (2562). บทบาทผู้นำาชุมชนกับการธำรงอัตลักษณ์ ประเพณีแห่ดาวบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสาร มมร วิชาการล้านนา,8(1), (17-30).

พิมลวรรณ พันธ์วุ้น. (2562). การรับรู้เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(2), (151-165).

ยศ สันตสมบัติ. (2548). มนุษย์กับวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมสุข หินวิมาน. (2557). ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชานิเทศศาตร์. ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 6-10. (เล่มที่ 2, หน่วยที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2544). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม: แนวคิดวิธี วิทยา ทฤษฎี. ขอนแก่น: อมรินทร์ก๊อปปี้.

สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2561). รูปแบบการสื่อสารและการรับรู้อัตลักษณ์ของคนมอญข้ามถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(52), (71-93).

สุรัตน์ วรางค์รัตน์. (2542). ปี ปิติมหาการุญ คริสตศักราช 2000 วิถีแห่งความเชื่อ วิถีแห่งชีวิตในสถาปัตยกรรมชนชาวคริสต์ที่บ้านท่าแร่สกลนคร. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์.