ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เกวลี มาหา
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องความน่าจะเป็น หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องความน่าจะเป็นก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่   1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง  มีค่าเฉลี่ย 4.73-4.77 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67-1 ค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.55-0.62 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.30-0.41 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 3) แบบวัดความสามารถความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67-1 ค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.58-0.62 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.34-0.38   และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  กลุ่มเดียว (t-test for one sample) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่มีอิสระจากกัน (t-test for dependent samples)


            ผลการการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าร้อยละ 70  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจรศักดิ์ สีเสน. (2544). การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ, 4, 1 (มกราคม 2544), 14-19.

จรีย์ สุวัตถี. (2534). กล้าคิด กล้าเผชิญ. นครนายก:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ดารินทร์ งามสันเทียะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(3), 15-49.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยา สาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

พัทธยากร บุสสยา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(3), 133-146.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547, มกราคม-มิถุนายน). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนญี่ปุ่น.KKU Journal of Mathematics Education 1. (1), 1-9.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วิจารณ์ พานิช. (2557). Open Approach-วิธีประยุกต์การ เรียนรู้แบบ Active Learning สู้การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/568714

วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. (2545ก). หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561).ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่านและคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสพับลิเคชั่น.

อัมพร ม้าคนอง. (2547). หลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Becker, J.P; & Shimada, S. (1997). The Open-Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.

Nohda, N. (n.d.). A study of “open approach” method in school mathematics teaching: Focus on mathematical problem solving activities & emclesh. Ibaraki: Institute of Education, University of Tsukuba.

Pehkonen, E. (1997). Use of open-ended problems in mathematics classroom. Helsinki: Department of Teacher Education University of Helsinki.

Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton, NJ: Princeton University.

Schoenfeld, A.H (1985). Mathematical Problem Sloving. San Diego Californai: Academic Press.