โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาอาชีพสำหรับครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พรณี สึมิ
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพและ 2) ออกแบบและประเมินโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพสำหรับครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพและตรวจสอบยืนยันโดยการสนทนากลุ่ม 2) ออกแบบโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ และประเมินโปรแกรมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้างและแบบประเมินโปรแกรมแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ และ 11 ตัวชี้วัด คือ 1) ด้านความรู้ 4 ตัวชี้วัด 2) ด้านทักษะ 3 ตัวชี้วัด 3) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล 2 ตัวชี้วัด และ 4) ด้านการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ 2 ตัวชี้วัด ผลการตรวจสอบยืนยันพบว่า ทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ ประกอบด้วย 4 โมดูล คือ 1) ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการสื่อสารเพื่ออาชีพ 2) การใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้   อย่างหลากหลาย 3) การสร้างความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และ 4) แนวทางการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ รวม 250 ชั่วโมง ผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ด้านความถูกต้องและด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้าน           ความเป็นไปได้ และด้านความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จรัญ รัฐแฉลม. (2563). ความพร้อมด้านภาษาญี่ปุ่นของแรงงานไทยและแนวทางการพัฒนาการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ. สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563.

ชินวัตน์ ทาชพิรมทอง. (2563). ความพร้อมด้านภาษาญี่ปุ่นของแรงงานไทยและแนวทางการพัฒนาการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ. สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563.

นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์ และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูผู้นำในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(พิเศษ), 374-391.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). สมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

วรรณวิมล รุ่งธีระ. (2556). การวิเคราะห์ผลการสอบประเมินระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 7 (1), 71-80.

ศนิ ไทรหอมหวน และพิณนภา หมวกยอด. (2563). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาววัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่: การศึกษาเชิงคุณภาพของปัจจัยที่มีอิทธิพล. วารสารญี่ปุ่นศึกษา (JSJ), 37(1), 44-57.

สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2558). การย้ายถิ่นเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น: กรณีศึกษาคนญี่ปุ่นวัยเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา (jsn journal), 5(1), 35-52.

อาซาโอะ ยามากิ. (2559). สถานการณ์การเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 52-62.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70 : 20 : 10 Learning Model. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Bar, M.J., and Keating, L.A. (1990). Introduction: Elements of program development. In M.J. Barr, L.A. Keating and Associates. Developing effective student services program. San Francisco: Jossey-Bass.

Ikeda T. (2006). การสำรวจความต้องการด้านภาษาญี่ปุ่นในตลาดองค์กรธุรกิจญี่ปุ่น (อุตสาหกรรมการผลิต). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2559, จาก http://www.jfbkk.or.th/ pdf/JL/2006/kiyou2006/24IKEDA.pdf.

Jack C. Richards, Theodore S. Rodgers. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching. Cambridge University Press.

Sumi, P. and Chansirisira, P. (2021). Developing a Competency-Enhancing Program for Professional Japanese Language Learning for Secondary School Teachers Under the Office of the Basic Education Commission. The Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 1800-1807.