แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

วนิดา พรมจักร
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามกลุ่มประชากร คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.40-0.80 และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์จัดลำดับความต้องการจำเป็น 


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ คู่มือพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งผลการประเมินคู่มือโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: แม็กช์พอยท์.

ชัยชาญ แก้วชิงดวง. (2561). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”, น. 242-249.

ดรัลรัตน์ ฮามพิทักษ์ และชิษณุพงศ์ ศรจันทร์. (2562).แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(74), 118-130.

ธนกร เชื้อจำรูญ. (2560). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 89-97.

ธันยาภัทร์ เทียนธนาทิพย์ และธรินธร นามวรรณ. (2563). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7),184-197.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการ วิจัย เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5), กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปรานอม จันทิมา, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และประเวศ เวชชะ. (2558).การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 17(8), 37-45.

ไพรจิตร อักษา และนิตยา วรรณกิตร์. (2561). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.วารสารบัณฑิตศึกษา, 70(15), 159-170.

มาเรียม นิลพันธ์. (2552). การศึกษาการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(1), 5-16.

สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2548). เอกสารคำสอนวิชาการบริหารงานบุคคล (Personal Management). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความความต้องการจำเป็น(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.มหาสารคาม: ตักศิลานคร.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (2565). ประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2565. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.