การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นภาพร สายผัน
สุมาลี ชูกำแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70             2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากได้รับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน                 เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน และเรื่องระบบขับถ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนผดุงนารี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 26 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน และเรื่องระบบขับถ่าย จำนวน 11 แผน ทั้งหมด 17 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 32 ข้อมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.49 ถึง 0.79 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.73 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบภูมิคุ้มกัน และเรื่องระบบขับถ่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.65 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (One samples)


             ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหา              และทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 นิยามปัญหา ระบุประเด็นปัญหา ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาและตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 4 สร้างวัตถุประสงค์             การเรียนรู้ ขั้นที่ 5 ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ๆ ขั้นที่ 6 นำข้อมูลหรือความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ ขั้นที่ 7 นำเสนอและประเมินผลงาน โดยมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 72.56/71.17 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการคิดเชื่อมโยงตามเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์

วิชุดา วงศ์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และยุพาวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2554). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: วิธีการสอน แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). รายงานประจำปี 2561. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

อำพร ไตรภัทร. (2543). คู่มือการเรียนการสอนการคิดวิเคราะห์วิจารณ์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

Arphaphan Sadtayawibul. (2010). Organizing Problem-Based Learning Activities for the Garbage and Solid Wastes Disposal Course. SDU Res J, 3(1),Jan-Dec 2010.

Good. C.V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.

Heepkew, P. (2009). The development of Mathayomsuksa 3 students’ problem solving ability and learning achievement in the science unit on “Resources and Environment” using problem-based learning (PBL) (Master thesis). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Khammani, T. (2012). Teaching strategy: Knowledge for effective learning process (16th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

OECD. (2017). PISA 2015 Results ((Volume V): Collaborative Problem Solving. Paris: OECD.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateepp, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National educational standards and the improvement of Thai education system with worldclass. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1),

Rim Razzouk, Valerie Shute. (2012). What Is Design Thinking and Why Is It Important?. Florida State University. 2012 AERA Educational Research.

Sirisuthaorach, P. (2013). Thinking development. (4thed.). Bangkok: 9119 Technical Printing.

Torph, L., & Sage, S. (1998). Problem as Possibilities: Problem Based Learning for K-12. Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum Developmen.