การพัฒนาการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/1 โรงเรียนเทศบาลบูพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 33 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน จำนวน 10 แผน 10 ชั่วโมง 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ เป็นแบบทดสอบชนิดอัตนัย จำนวน 4 กิจกรรม จำนวน 8 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดทุกแผน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรกนก พากิ่ง. (2557). การพัฒนากระบนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษมะณี ลาปะ และเพชรรัตน์ จงนิมิตสถพร. (2558). การพัฒนาคามคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส21103 สังคมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จินตนา ต่างโอฐ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ครุสาตรมหาบัณฑิตสังคมศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
มงคล เรียงณรงค์ และ ลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 141-148.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2556). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/?option=com_content&view=article&id=3579&catid=266:-2553<emid=203
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วิพรพรรณ ศรีสุธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชัฏมหาสารคาม.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning(CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.
สถิติแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร. (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร.
สุวิทย์ เมษอินทรี. (2559). ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564, จาก http://www.admissionpremium.com/news/1377
สุวิทย์ มูลคำ. (2551).ครบเครื่องเรื่องการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรการศึกษา.
อนรรฑ สมพงษ์ และลดาวัลย์ มะลิไทย. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเอกสาร และหลักฐานทางประวัติศาสตร์. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
Torrance, (1962). Guiding creative talent. Eng lewood Cliffs,NJ: Prentece-Hall.