การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมเชิงรุก เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมเชิงรุก และ
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมเชิงรุกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมเชิงรุก จำนวน 5 ชุดกิจกรรม 10 ชั่วโมง
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดย Paired-Samples t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กลุ่มงานวิชาการ โรงเรียนสารคามพิทยาค. (2562).รายงานการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา ปี2562. โรงเรียนสารคามพิทยาคม.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวพุทธเพื่อสะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในบริบทแห่งสังคมไทยยุคปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชฎาพร เจ๊กรวย. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อักษรนำและคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning). Journal of Modern Learning Development, 8(1), 373-392.
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 7E และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารจุฬาคชสาร, 12(1), 59-70
ดรุณตรีย์ เหลากลม.(2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โมเมนตัม และการชนด้วยชุดกิจกรรม วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ฝนพรม พุทธนา. (2562).การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิตภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนิตธิดา รุ่งแจ้ง. (2560). การพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุพิน เกสรบัว. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(39), 85-98.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ.(2551). การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 8(2), 28-38
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553).นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2559). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
หัสชัย สิทธิรักษ์. (2555). การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่เรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ฮารีส มามะ. (2565).ผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAMEducation) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง ธรณีพิบัติภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรียะลา. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 101-118.
Alters, B. J. (1996). Whose Nature of Science. Journal of Research in Sciences Teaching.34 (1), 39-55.
Meyers, C.; & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.