การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส

Main Article Content

มณธิรา ประเสริฐไทย
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งทำทั้งหมด 3 วงรอบปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 29 คน โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตพฤติกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ


       ผลการวิจัยพบว่าวงรอบปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 37.93 วงรอบปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 82.76 และวงรอบปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1), 39-42.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิราวรรณ วังทะพันธ์ และอุฤทธิ์ เจริญอนิทร์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทยปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 15-28.

รมิตา ชื่นเปรมชีพ, พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ และวรากร เฮ้งปัญญา.(2560). ผลของกลยุทธ์การแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(1), 155-171.

โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. (2564). ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก https://issuu.com/kruevesu/docs/sar_63.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: เจริญการพิมพ์.

สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2547). วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1986.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุวร กาญจนมยูร. (2533). เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Buachamrat, A. (2017). Study of problem solving ability and mathematical communication ability on application of linear equations to one variable of MathayomSuksa 2 students using FOPS strategies. Master of Science thesis Mathematics Education College Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima.

Gabeel, D. (1999). Improving Teaching and Learning Through Chemistry Education Research: A Look to theFuture. Journal of Chemical Education, 74(4), 548-553.

Herganhahn, B.R. and Olson, M. (1993). An introduction to theories of learning 4th ed. United States: Prentice Hall.

Jitendra, A.K. and Star, J.R. (2011). Meeting the Needs of Students with Learning Disabilities in Inclusive Mathematics Classrooms: The Role of Schema-Based Instruction on Mathematical Problem Solving. Theory into Practice, 50(1), 12- 19.

Kemmis, S and MC Taggart, R. (1988). The Action Research Planner 3rd ed. Victoria: Deakib University.45.

Rockwell Sarah, B. (2012). Teaching students with autism to solve additive word problems using schema-based strategy instruction. Ed.D.

Skinner, B.F. (1938). The behavior of organisms: An experimental analysis. New York: Appleton-Century-Crofts