แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

Main Article Content

ขวัญข้าว ตะติยรัตน์
ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน
สุพจน์ ดวงเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษา
ที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่น และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 330 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าระหว่าง 0.28 - 0.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99  และค่าอำนาจจำแนกแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าระหว่าง 0.26 - 0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 แบบสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


       ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมีค่าเท่ากับ 0.31 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ บุราณสาร. (2560). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กมลวรรณ จันทร. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. 10004-1005.

กฤษณพงษ์ ศรีทรัพย์. (2565). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กุลเชษฐ์ มงคล. (2563). การคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) ภายใต้วิกฤติ : สมรรถนะสำคัญของกำลังคนในโลกแห่งความผันผวนยุค VUCA. วารสารข้าราชการ Civil Service E-Journal, 62(2). 12-14.

ซีแอค. (2564). Organizational resilience ล้มแล้วลุกสร้างธุรกิจให้แกร่งกว่าเดิม. สืบค้นจาก www.seasiacenter.com/th/uncategorized-th/organizational-resilience/.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

พสุ เดชะรินทร์. (2564ก). “Resilience” อีกแนวคิด “บริหารองค์กร” ที่มาแรงในยุคโควิด. สืบค้นจาก https:// www.bangkokbiznews.com /business/918912.

พสุ เดชะรินทร์. (2564ข). RESILIENT ORGANIZATION. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126769.

ภูดิศ โรจนรักษ์. (2656). การปรับตัวในการทำงานของบุคลากรเพื่อพัฒนาไปสู่องค์การแห่งความยืดหยุ่นในธุรกิจเดลิเวอรี่. การประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและสัมคมศาสตร์ “5 ทศวรรษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง การวิจัยเพื่อความยั่งยืน”, 14 - 36.

วิภาวรรณ ลิมป์ไพบูลย์. (2562). การวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญจากประสบการณ์ของผู้บริหารเพื่อภาวะธำรงสภาพขององค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 41(162), 89.

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ. (2565). ภาวะผู้นำกับการบริหารองค์การในยุคนิวนอรมัล. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 123 - 132.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุพาณี สอนซื่อ. (2558). ความยืดหยุ่นในองค์กรสู่การสร้างความผูกพันของพนักงาน. วารสารการบริหารคน, 35(4), 82 - 85.

สุรพงษ์ มาลี. (2563). คุณลักษณะขององค์กรและกำลังคนที่จะรอดพ้นวิกฤตในศตวรรษที่ 21. วารสารข้าราชการCivil Service E-Journal, 62(2), 16 - 20.

อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 14(2), 178 - 195.

เอาเวอร์ กรีนฟิช. (2563). ก้าวต่อด้วย “RESILIENCE” ทักษะสำคัญที่สุด ที่ทุกเจเนอเรชั่นต้องมี. สืบค้นจาก https://blog.ourgreenfish.com/.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting mixed methods research.(3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.