การศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบหายใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเอง

Main Article Content

อินทุกร บุญแสน
พรรณวิไล ดอกไม้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหายใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 42 คน
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จากโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหายใจ จำนวน 9 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.25-0.58 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.37-0.89 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหายใจ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20-0.55 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.39-0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระ


       ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องระบบหายใจ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 และนักเรียนที่คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร แฝงเมืองคุก. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(2), 199-216

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาณิสรา อำมะรีณ์. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องยีน และโครโมโซม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2560.สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 105-112.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2541). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต และสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:สำนักงานฯ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 7).

สุวัจนา ศรีวิเนตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยลัยราชภัฏร้อยเอ็ด,13(2): 41-52.

Corno, L. (1992). Encouraging students to take responsibility for learning and performance. Elementary school journal, 93(1 Sep), 14-22.

Elias, J. L., & Merriam, S. (1980). Philosophical foundations of adult education. Huntington, NY: Robert K. Krieger Publishing Company.

Garrison, D.R. (1997). Self-directed learning: Toward a comprehensive model. In Adult Education Quarterly, 1(48), 16-18.

Grow, Gerald. O. (1996). Teaching Learners to be Self - Directed. Adult Education Quarterly, (Online). 41(3): 125 - 149. Available: http://longleaf.net/wp/articlesteaching/teaching-learners-text/.

Khiat, H. (2017). Academic performance and The Practice of Self-Directed Learning: The Adult Student Perspectives.Journal of Further and higher Education, 41(1), 44-49

Guglielmino, L. M. (1977). Development of the self - directed learning readiness scale. Doctoral Dissertation University of Georgia.

Knowles M.S. (1975). Self-Directed Learning a Guide for Learner and Teachers. Chicago: Association Press.

Miller, M.A., & Badcock, D.E. (1996). Critical Thinking Appliedto Nursing. Missouri: Mosby Yearbook.

Paul, R.W. (1985). Bloom’s Taxonomy and Critical Thinking Instruction. Education Leadership, (March 1998): 36-39.