การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยในยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น: มุมมองจากคณะ A มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ปิยากร หวังมหาพร

บทคัดย่อ

            ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลต่ออุตสาหกรรมและภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้ง ภาคการศึกษา วัฒนธรรมองค์การมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเอกลักษณ์ขององค์การ พฤติกรรมของบุคลากร ส่งเสริมความร่วมมือ  และผลักดันให้องค์การประสบความสำเร็จ บทความวิชาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย  ในยุคดิจิทัล ดิสรัปชัน: มุมมองจากคณะ A มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย ที่เป็นกรณีตัวอย่าง และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยพบว่า วัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยที่เป็นกรณีตัวอย่างมีวัฒนธรรมองค์การตามการรับรู้แบบครอบครัวเน้นความยึดหยุ่นในการทำงาน มีลักษณะบรรยากาศที่ร่วมกันทำงานคล้ายอยู่ในครอบครัวเดียวกัน อาจารย์และพนักงานช่วยเหลือกัน ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร การทำงานเป็นทีม เป็นองค์การที่เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมองค์การที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยตัวอย่างมีแนวโน้ม  เป็นแบบเฉพาะกิจมากขึ้น เน้นความยึดหยุ่นสูง กล้าเสี่ยง กล้าคิด ส่งเสริมการสร้างสรรค์ การสร้างโอกาสใหม่ ๆ เน้นการให้รางวัลผลตอบแทนแก่ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นพิเศษ บุคลากรได้รับความเป็นอิสระในการตัดสินใจเองและพร้อมลงมือปฏิบัติ แต่วัฒนธรรมองค์การแบบครอบครัวและแบบตลาดยังคงเป็นส่วนผสมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยตัวอย่าง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). จำนวนมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566, จาก info.mhesi.go.th/homestat_academy2.php.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แนวทางและหลักเกณฑ์การเปิดสถานที่ทำการของสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้น 4 มกราคม 2565 จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/4476-2021-09-22-08-34-55.html.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). New Normal คืออะไร?เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิตปกติวิถีใหม่สืบค้น 19 มกราคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508.

ณิชา พิทยาพงศกร. (2020). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ.สืบค้น 19 มกราคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2020/ 05/desirable-new-normal-for-thailand-education/.

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2563). โควิด-19 ตัวเร่งมหาวิทยาลัยปรับตัวสู่โลกออนไลน์. สืบค้น 19 มกราคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/881977.

นิตยา ภัสสรศิริ และ อรวรรณ ภัสสรศิริ. (2556). วัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 3(1), 1-17.

ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2550). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2550. 182-188.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2561). มหาวิทยาลัยกับการก้าวข้ามปรากฏการณ์วิกฤต. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/article/news_1119499

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ. (2540). วัฒนธรรมองค์การ: แนวคิด งานวิจัยและประสบการณ์. กรุงเทพฯ: โฟร์เพช.

Ananthram, S., & Chan, C. K. (2019). Organizational culture in private universities: An exploratory study. Higher Education, Skills and Work-Based Learning, 9(1), 67-85.

Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (2011). Diagnosing and Changing Organizational Culture: Based on the Competing Values Framework. New Jersey: John Wiley & Sons.

Christensen, C. M., Raynor, M. E., & McDonald, R. (2015). What is disruptive innovation? Harvard Business Review, 93(12),1-11.

Schein, E. H. (2010). Organizational Culture and Leadership. New Jersey: John Wiley & Sons.Kotter, J. P., & Heskett, J. L. (1992). Corporate Culture and Performance. New York: Free Press.

Saran, Claudia. (2020). Culture: An Organizational Antidote for COVID-19. Retrieved Jan 19, 2022, From https://info.kpmg.us/news-perspectives/ people-culture/culture-as-an-organizational- antidote-for-covid-19.html.

Teixeira, A., & Sobral, F. (2018). Organizational culture in private higher education institutions: The case of Portugal. Journal of Higher Education Policy and Management, 40(6), 589-603.