ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมเข้าจังหวะที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษา โดยใช้กิจกรรมเข้าจังหวะที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนของความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้นโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน จำนวน 45 คน ทำการทดลองโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมเข้าจังหวะจำนวน 8 แผน ประกอบด้วยการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมหรือนำเข้าสู่กิจกรรม 2) การสอนและสาธิต 3)การฝึกหัด 4) การนำไปใช้ และ 5) การสรุปและสุขปฏิบัติ การประเมินความฉลาดทางอารมณ์ใช้แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับย่อสำหรับครู) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ (Dependent sample t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเก่ง ด้านดี และด้านสุขก่อนการจัดกิจกรรมในอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ และหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับปกติ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนน ความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเก่ง ด้านดี และด้านสุขหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กมลพรรณ ชีวพันธุศรี. (2546). สมองกับการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส่งเสริมการศึกษาและจริยธรรม.
กรมสุขภาพ. (2560). คู่มือจัดกิจกรรมเสริมสร้างอีคิวนักเรียนสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: บริษัท แมสซีฟโมชั่น.สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมสุขภาพจิต. (2546, 16 พฤษภาคม). คู่มือ EQ ความฉลาดทางอารมณ์ (เล่มเล็ก). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชญานนท์ สุวรรณเพชร. (2564). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมทางกายประสานการชี้แนะ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 17(1), 180-192.
ณภคกร เจะเลาะ. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำในเด็กปฐมวันชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (คณะศึกษาศาสตร์), 3(8), 55-67.
ทัศนีย์ กรัณฑรัตน์. (2561). การใช้กิจกรรมนาฏศิลป์รูปแบบทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปริญญา ปทุมณี. (2563). ผลของการออกกำลังกายด้วยการเล่นพื้นเมืองไทยที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช, 3(12), 53-59.
ปัญญา สังขวดี. (2549). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาศิลป์วิชาการ (ศึกษาศาสตร์), 2 (ฉบับพิเศษ), 71-82.
สมคิด ยีละงู. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (คณะศึกษาศาสตร์), 3(7), 112-124.
สุรัตน์ แสงสีเหลือง. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหมเบื้องต้นและการเคลื่อนไหวประกอบเพลงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ กันภัย. (2565). ผลของการเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นไทยที่มีต่อการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรรีนครินทรวิโรฒ (ศึกษาศาสตร์), 23(1), 190-203.
หัฎฐกรณ์ เถาทอง. (2565). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศริเพ็ญ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 26-33.