การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้สถานการณ์ปัญหาจากสื่อออนไลน์ยูทูบ (YouTube) และชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้

Main Article Content

รัชนก นาคพงษ์
อาริยา สุริยนต์
นิราศ จันทรจิตร

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนแบบเชิงรุก โดยใช้สถาณการณ์ปัญหาจากสื่อออนไลน์ยูทูบ (YouTube) และชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้สถานการณ์ปัญหาจากสื่อออนไลน์ยูทูบ (YouTube) และชุดกิจกรรม เรื่องอาเซียนน่ารู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้สถานการณ์ปัญหาจากสื่อออนไลน์ยูทูบ (YouTube) ผ่านชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนอนุบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอาเซียนน่ารู้ จำนวน 10 แผน                 แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 3) บทเรียนชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้สถานการณ์ปัญหาจากสื่อออนไลน์ยูทูบ (You Tube) และชุดกิจกรรม เรื่อง อาเซียนน่ารู้ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐามีประสิทธิภาพ 86.41/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การพัฒนาความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้สถานการณ์ปัญหาจากสื่อออนไลน์ยูทูบ (YouTube) และชุดกิจกรรมเรื่อง อาเซียนน่ารู้ มีการประเมิน 3 ครั้ง นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ ดังนี้ ครั้งที่ 1 คาบที่ 1 อยู่ในระดับดี  (gif.latex?\bar{X}= 3.11, S.D. = 0.97) ครั้งที่ 2 คาบที่ 5 อยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{X}= 3.48, S.D. = 0.87) ครั้งที่ 3 คาบที่ 10 อยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.78, S.D. = 0.94) 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กูอันนูวาร์ ศรีระเด่น. (2549). การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บหน่วยการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฐิติรัตน์ นัยพัฒน์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ วิชาการพัฒนาเว็บด้วยภาษา HTML นักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. กรุงเทพ ฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์ พณิชยการ.

ธีรนันท์ ศรีวิทัศน์ และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ วีดีโอบนยูทูบร่วมกับแนวคิดการสอนภาษา เพื่อการสื่อสารเพื่อพัฒนา ทักษะการฟัง และพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พัชรี นาคผง. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ธนพร.

โอภาส เกาไศยาภรณ์. (2548). การพัฒนาบทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ เรื่อง การจัดพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา. (สารนิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study. In Thailand Designing Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia 2011, 34(1), 47-66

Sethela J. and etc. (2014). Assessing the Use of YouTube Videos and Interactive Activities as a Critical Thinking Stimulator for Tertiary Students: An Action Research.International Education Studies, 7(8).