ผลการสังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

กฤตนัย ล้ำจุมจัง
อภิชาติ เหล็กดี
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมขอรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 55 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 55 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบ จำนวน 5 คน กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับวิพากษ์เกี่ยวกับร่างรูปแบบ จำนวน 9 คน และกลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สำหรับประเมินความเหมาะสมรูปแบบ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้  ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามบริบท ปัญหา และความต้องการของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสะเต็มศึกษาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อองค์ประกอบของรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ด้านนโยบาย หลักการและแนวคิดที่เกี่ยวข้องในพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็ม ส่วนที่ 2 กิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 5 ด้าน และส่วนที่ 3 ตัวชี้วัด 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4), 334-348.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ.

Baert, A. and others. (2005). The Project Approach.http://www.ualberta.ca/schard/projects.htm.

Best, John. W. Research in Education. (3nd. ed.,). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell, 1997.

Fioriello, P. (2016). Understanding the Basics of STEM Education. Available: http://drpfconsults.com/understanding-the-basics-of-stem-education.