การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนของเดวีส์ร่วมกับเพื่อนคู่คิดที่มีเว็บสนับสนุนรายวิชาสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโคกโกโคกกลาง

Main Article Content

ภูดิศ จันทบูรณ์
ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว
ประวิทย์ สิมมาทัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการพัฒนาทักษะปฏิบัติของผู้เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเพื่อนคู่คิดที่มีเว็บสนับสนุนวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโคกโกโคกกลาง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเพื่อนคู่คิดที่มีเว็บสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนของเดวีส์ร่วมกับเพื่อนคู่คิดที่มีเว็บสนับสนุน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
            ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทักษะปฏิบัติของผู้เรียน 1) นักเรียนมีทักษะปฏิบัติในวงรอบที่ 1 โดยรวมร้อยละ 40.93 มีทักษะปฏิบัติในระดับต่ำ (gif.latex?\bar{X}= 2.04, S.D. = 0.43) และนักเรียนร้อยละ 92.00 มีพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.60,   S.D. = 0.51) 2) นักเรียนมีทักษะปฏิบัติในวงรอบที่ 2 โดยรวมร้อยละ 52.28 มีทักษะปฏิบัติในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 2.86, S.D. = 0.33) และนักเรียนร้อยละ 93.64 มีพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.68, S.D. = 0.50) 3) นักเรียนมีทักษะปฏิบัติในวงรอบที่ 3 โดยรวมร้อยละ 77.63 มีทักษะปฏิบัติในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}= 3.88, S.D. = 0.49) และนักเรียนร้อยละ 97.64 มีพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.88, S.D. = 0.26)  2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเพื่อนคู่คิดที่มีเว็บสนับสนุนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.82, S.D. = 0.26)  โดยเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย 3 รายการ คือ ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอน (gif.latex?\bar{X}= 5.00 , S.D. = 0.00)   เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม (gif.latex?\bar{X}= 5.00, S.D. = 0.00) และการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ (gif.latex?\bar{X}= 5.00 , S.D. = 0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ปราณี เปล่งสูงเนิน. (2554). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายรายวิชาการใช้โปรแกรม Microsoft Excel โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เพ็ญพักตร์ สาทอง. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับในภาชนะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(4), 60.

รัชนีย์ อุตมะ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนัสนันท์ ประสันแพงศรี. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการนวดแผนไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนงค์ ทิวะสิงห์. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ ที่มีต่อการเรียนทักษะปฏิบัติของนักเรียน เรื่อง การปลูกไม้ดอกไม้ประดับในภาชนะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษาคว้าอิสระสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.