การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 คน ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านสว่าง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 12 แผน มีความเหมาะสมมาก และ 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ในระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน นักเรียนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่า นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 1 คน และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 1 คน ในวงจรปฏิบัติที่ 2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากวงจรปฏิบัติการที่1นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 2 คน และในวงจรปฏิบัติที่ 3 นักเรียนมีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 2 คน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซักเซสมีเดีย.
ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และยศวีร์ สายฟ้า. (2559). การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดี คนเก่ง ของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นัฐยา ทองจันทร์ และพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. (2559). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง. วารสารบัณฑิตวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 7(1), 1-14.
พัฒนพงษ์ พงษ์จันโอ. (2560). การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ศาสตร์การคิดรวมบทความเรื่องการติดและการสอนคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไพลิน แก้วดก. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภิรดี วัชรสินธุ์ และคณะ. (2557). ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบสอง (พ.ศ. 2549-2553). สืบค้นจาก http://www.onesqa.or.th/th/contentlist-view/934/284/.
โรงเรียนบ้านสว่าง. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR โรงเรียนบ้านสว่าง ปีการศึกษา 2564. มหาสารคาม: โรงเรียนบ้านสว่าง.
วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity Based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.
สุขกมล แสงวันดี. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุขกมล แสงวันดี, บังอร กองอิ้ม และกมลหทัย แวงวาสิต. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 254-265.
สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ และจุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านผลิตภาพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 11(1), 83-114.
เสาวลักษณ์ ยิ้มประเสริฐ, อัคพงศ์ สุขมาตย์ และบุญจันทร์ สีสันต์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับบทเรียนแท็บเล็ต เรื่อง ข้อมูลและคอมพิวเตอร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 16(2), 10-17.
Caine, R. N. and Caine, G. (1990). Understanding a Brain-Based Approach to Learning and Teaching. Educational Leadership. 48(2), 66-70.
Coplay, A. J. (1996). Creative and Intelligence. The British Journal of Education Psychology, 36(11), 203-219.
DeBono, E. (1992). Serious Creativity. London: Fontana.
Jensen, E. (2000). Brain-Based Learning: a Reality Check. Educational Leadership, 57(7), 76-80.
Torrance, E. P. (1965). Rewarding Creative Behavior. Englewood Cliffs, Creativity. New Jersey: Prentice Hall.
Upaphan, K. (2021). Developing Creativity by Using the Teaching and Learning Model of Thinking Process. Solve Future Problems Based on Torrance’s Concept. Knowledge Integration Course Mahidol Wittayanusorn School. Nakhon Pathom: Mahidol Wittayanusorn School Public Organization.
World Economic Forum. (2018). The Future of Jobs Report 2018. Retrieved from https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2018.