การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังหวานจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่

Main Article Content

ศจีมาศ นันตสุคนธ์
อารี น้อยสำราญ
นปภา หอมหวล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษาปริมาณแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่เหมาะสมในการทำขนมปังหวาน และศึกษา                   ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมปังหวานจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นไปได้ในการการพัฒนาสูตรขนมปังหวาน 2) การศึกษาอัตราส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการทำขนมปังหวาน 3) การพัฒนาขนมปังหวาน จากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ และ 4) การประเมินความพึงพอใจต่อขนมปังหวานจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่


            ผลการวิจัย พบว่า อัตราส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการทำขนมปังหวาน สูตรที่ 4 ที่มีสัดส่วนแป้งจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ร้อยละ 3.0   มีผลทำให้เกิดความพึงพอใจในด้านสี ( gif.latex?\bar{M}= 4.04 ± 1.08) ด้านกลิ่น ( gif.latex?\bar{M}= 4.32 ± 3.16) ด้านเนื้อสัมผัส ( gif.latex?\bar{M}= 3.94 ± 1.01)   และความชอบโดยรวม ( gif.latex?\bar{M}= 4.09 ± 0.96) มากกว่า สูตรที่ 1 ที่มีสัดส่วนแป้งจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ร้อยละ 10.0 สูตรที่ 2 ที่มีสัดส่วนแป้ง จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ร้อยละ 7.0 และ สูตรที่ 3 ที่มีสัดส่วนแป้ง จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ร้อยละ 5.0 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย พบว่า ความพึงพอใจต่อขนมปังหวานจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ สูตรที่ 1 2 3 และ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  สรุปได้ว่าผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมากต่อผลิตภัณฑ์ขนมปังหวานจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีสัดส่วนแป้งจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ร้อยละ 3.0 ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขนมปังหวานทางเลือกเพื่อสุขภาพต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anna V.A. (1998). Consumer Sensory Testing for Product Development. Maryland: An ASPEN.

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2566). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR). อุบลราชธานี: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นจาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2018072012262188.pdf.

จิตรา สิงห์ทอง. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังเพื่อสุขภาพจากแป้งแก่นตะวัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21, 71-83.

บริษัทออตโต้ คิงส์กลาส จำกัด. (2564). ประเภทของขนมปัง. กรุงเทพฯ: บริษัทออตโต้ คิงส์กลาส จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พนารัตน์ สังข์อินทร์ และกิ่งกาญจน์ ป้องทอง. (2565). การทดแทนแป้งสาลี ด้วยแป้งมันเทศส้มในขนมปัง. วารสารนเรศวรพะเยา, 15, 96.

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). ข้าวไรซ์เบอร์รี่. ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นจาก https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/research-develop/rice-breeding-lab/rice berry-variety.

สุจิตตา เรืองรัศมี, กนกวรรณ จัดวงษ์, และอบเชย วงศ์ทอง. (2561). การพัฒนาสูตรขนมปังแซนด์วิชโดยใช้รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ทดแทนแป้งสาลี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13, 123-38.

อุมาวดี วุฒินาม. (2556) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดร้านเบเกอรี่บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.