การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อารยา คนไว
จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาจีน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์ กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโพง จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์ แบบวัดความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาจีนและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test)


       ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 89.00/89.11 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีค่าความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สกสค.ลาดพร้าว จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). เอกสารประกอบหลักสูตการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กาญจนา ไกลถิ่น. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัญญา เอมบำรุง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยและทักษะความร่วมมือของนักเรียนชั้นมีธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิครีเวิร์สจิ๊กซอว์ร่วมกับฝังกราฟิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันยพร อริยะเศรณี. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน เรื่อง สถิติเพื่อการวิจัยระหว่างรูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์กับการสอนปกติ. (เอกสารประกอบการสอน). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา.

นิติกานต์ ศรีโมรา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคำศัพท์. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 7(2), 104-105.

ณัฐชิมากรณ์ หนูส่ง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดย ใช้บัตรคำและบัตรภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ตุลยนุสรญ์ สุภาษา และฉี เสวียหง. (2560). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ. วารสารบัณฑิตวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 8(1), 115-124.

ฝ่ายวิชาการ. (2564). แบบรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. ยโสธร: โรงเรียนบ้านโพง.

ศนิตา อาร์จอสนีย์. (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน เรื่องรอบตัวของฉัน สาระการเรียนรู้ภาษาจีน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบJigsaw. วารสารมหาจุฬาตานี ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(7), 36-43.

ศราวุฒิ เวียงอินทร์. (2560). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเนื้อหาตามบริบทท้องถิ่นโดยใชกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุภัชญา สวัสดิ์โยธิน. (2564). การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ตัวอักษรจีนโดยการใช้บัตรคำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

อรรคภณ วชิรวัชร์. (2561). การเปรียบเทียบการใช้การ์ดคำศัพท์ในการจดจำและเขียนลำดับขีดตัวอักษรจีน กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.