การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องงานและพลังงาน ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานและพลังงาน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเรื่องงานและพลังงาน จำนวน 6 แผน เวลา 12 ชั่วโมง แบบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบสองส่วน จำนวน 8 ข้อมีค่าความยากตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.31 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.44 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีความยากตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.78 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.71 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90
ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจมโนติทางวิทยาศาสตร์เรื่องงานและพลังงาน หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนในทุกหัวข้อโดยก่อนเรียนนักเรียนมีค่าคะแนนร้อยละเฉลี่ยของมโนมติที่สมบูรณ์คิดเป็นร้อยละ 16.80 มโนมติที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 32.81 และความไม่เข้าใจ คิดเป็นร้อยละ 50.39 ส่วนหลังเรียนมโนมติที่สมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 53.51 มโนมติที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์คิดเป็นร้อยละ 37.89 และความไม่เข้าใจ คิดเป็นร้อยละ 8.60 และ 2) หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานและพลังงาน ไม่ต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 70
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Buckley, B. C., Gobert, J. D., Kindfield, A. C., Horwitz,P., Tinker, R. F., Gerlits, B. & Willet, J. (2004). Model-Based Teaching and Learning with Biologica™: What Do They Learn? How Do They Learn? How Do We Know?. Journal of Science Education and Technology, 13(1), 23-41.
พิมพ์ผกา วิเศษสา และสุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล. (2564). การพัฒนาความสามารถในการสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11), 162-176.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน: O-NET. สืบค้นจากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/An nouncementWeb/Notice/FrBasicStat.asp.
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และอชิรญา ภู่พงศกร. (2561). นโยบายการศึกษาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 3(3), 30-46.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ยุภาวดี โคตรทอง และหล้า ภวภูตานนท์. (2557). ศึกษาการเปลี่ยนแปลงมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่องเซลล์ โดยใช้การสอนแบบเปรียบเทียบ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3), 157-164.
ละมัย โชคชัย, เอกรัตน์ ทานาค และพรรณนภา ศักดิ์สูง. (2557). การพัฒนาแนวคิด เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 52). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 15). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์