การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

สุชาดา หวังสิทธิเดช
ทิพาพร สุจารี
ณัฏฐชัย จันทชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์
เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะดังนี้. ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการและแนวทางในการฝึกอบรม ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบสอบถาม
แบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)


       ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหาสาระ 4) กิจกรรมการฝึกอบรม 5) สื่อและอุปกรณ์ และ 6) การวัดและประเมินผล เป็นหลักสูตรฝึกอบรมจำนวน 24 ชั่วโมง เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ การทำงานร่วมกัน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ ผลการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=3.81, S.D. =0.78) เมื่อเปรีบเทียบสมรรถนะด้านความรู้คะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมรรถนะด้านทักษะค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.35, S.D.=0.55) สมรรถนะด้านเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.52, S.D.=0.51) และระดับความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=.56, S.D.=0.55) ชี้ให้เห็นว่า ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อสนเทศที่สำคัญในการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร ปราชญ์นคร. (2550). การพัฒนาหลักสูตรการอบรมเสริมสร้างสมรรถนะข้าราชการประจำศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดจังหวัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: ชุมชนหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกษศิรินทร์ ศรีสัมฤทธิ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครู ด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูประจำการ ด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญญาและการชี้แนะทางปัญญา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.

ดวงฤทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษา ของนักศึกษาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปฏิพงศ์ จงรู้ธรรม. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปิยะมาศ ทองเปลว. (2560). การพัฒนาโปแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). ประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่ 7-11 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (Provision of Experiences for Preschool Childhood) (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชา พรหมโชติ, ญาณิศา บุญจิตร์, และโสภณ เพ็ชรพวง. (2564). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41),326-341 สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2555). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมรรถนะในระบบข้าราชการพลสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). สมรรถนะในระบบข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and school learning. New York, NY: McGraw-Hill.

Cepeda, Linda F. (2009). Effects of Participation in In Quiry Science Workshops and Follow-up Activities on Middle School Science Teachers Content Knowledge, Teacher-held Misconcepttions and Classroom Practices. Denver: The faculty of Natural sciences and Mathematics University of Denver.

Garica-Guerra,G.(2001). Content coaching: Process that define it and the characteristics of those who coach: Doctoral Dissertation, Harvard University. Available from http:www.ilb.umi.com/dissertations/fullcit/3012920 (January 5th, 2005).

Guvis, J.P., & M.T. Grey. (1995). The Anatomy of a Competency. Journal of Nursing Staff Development, 11(5), 247-252.

Hopkins, D. & Antes, C. (1990). Classroom measurement and evaluation. Illinois: Publishers.

Slater, C.L., & Simmons, D.L. (2001). The design and implementation of a peer coaching program. American Secondary Education, 29(3), 67-76.

Stone,R.J. (1998). Human resource management (3rd ed.). Singapoer: Jacaranda Wiley. Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.