การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ I-CARE MODEL กรณีโรงเรียนบ้านโนนค้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3

Main Article Content

ชมพูนุช ผดุงชาติ
ธีระ ภูดี
รัชฎาพร งอยภูธร

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนค้อ 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ I-CARE MODEL โรงเรียนบ้านโนนค้อ และ 3) ศึกษาผลการดำเนินงาน ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ I-CARE MODEL กรณีโรงเรียนบ้านโนนค้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านโนนค้อ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการศึกษาเอกสารแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสม แบบบันทึก PLC และแบบบันทึกการสะท้อนการปฏิบัติงาน (AAR)  ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอ  ในเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโนนค้อ พบว่า งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านโนนค้อ ยังมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงพัฒนา ได้แก่ โครงสร้างการทำงานที่มีความซ้ำซ้อน ขาดการทำงานเป็นทีม 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้I-CARE MODEL โรงเรียนบ้านโนนค้อ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างของงานให้มีความเหมาะสมและการปรับปรุงคู่มือการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามI-CARE MODEL โดยคู่มือที่ปรับปรุงมีความเหมาะสมในการนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ ในระดับมาก (4.00) 3) ผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ I-CARE MODEL โรงเรียนบ้านโนนค้อ จากการปรับปรุงโครงสร้างของงานทำให้ลดความซ้ำซ้อนของงานและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมีระบบการทำงานที่ดีขึ้น การพัฒนางานโดยใช้กระบวนการ PLC.ทำให้การพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกธร วงษ์จันทร์. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อ การดำเนินงานระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). การสนทนากลุ่ม (Focus Group). สืบค้นจาก https://page.hrteamwork.com/knowledge/focus-group/ กรมวิชาการ.

กรมสุขภาพจิตและกรมสามัญศึกษา. (2546). สุขภาพจิตไทยพ.ศ. 2545-2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือครูประจำชั้นและครูที่ปรึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2551). ภาวะสุขภาพจิต (พิมพ์ครั้งที่4). นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. รายงานสรุปการทะเลาะวิวาทและปัญหาการใช้ความรุนแรงของนักเรียนนักศึกษา.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555). การดูแลช่วยเหลือ ผู้ประสบปัญหา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิกานต์ เธียรสูตร. (2551). วงจร PDCA คืออะไร?. สืบค้นจาก http://eduserv.ku.ac.th/km/index.php?option=com_content&task=view&id=137&Item id=68.

ทักษิณ วงศ์ฉลาด. (2553). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน บ้านบัวโคก (บวกโคกราษฎร์วิทยาคม) อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

มธุรส ผุดผ่อง. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวรรณา พงษ์ผ่องพูล. (2558). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

The Ken Blanchard Companies. (2009). Employee Passion. Perspective, Employee Work Passion: Volume 1. Retrievedfrom http://www.kenblanchard.com/Business_Leadership/Effective_Leadership_ White_Papers/Employee_Passion_Engagement/.