การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน (Disproportional Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 55 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 275 คน รวมทั้งสิ้น 330 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าระหว่าง 0.28-0.86 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และค่าอำนาจจำแนกแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าระหว่าง 0.31-0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของแนวทางพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ เมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 0.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 1-3 อันดับแรก ดังนี้ 1.1) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี มีค่าเท่ากับ 0.72 1.2) ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเท่ากับ 0.61 1.3) ด้านการกำหนดนโยบาย แผน และกลยุทธ์ มีค่าเท่ากับ 0.50 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 2.1) ด้านการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี ได้แก่ จัดให้มีการอบรมพัฒนาครู บุคลากรในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้, ส่งเสริมให้มีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ ในสถานศึกษา 2.2) ด้านการมีส่วนร่วม ได้แก่ เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น และรับฟังความเห็นของกันและกัน,
สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จิระศักดิ์ ทุบจิ๋ว. (2557). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นําและผู้นําเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
เพ็ญพิชชา โคตรชาลี. (2556). ความสัมพนัธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
รุ่งทิวา หงษ์อินทร์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาสินธุ์: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.สุภาพร ภิรมย์เมือง. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิชาติ เหมฬา. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อระสิทธิผลการบริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting mixed methods research. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.