การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ (LMS) โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

Main Article Content

ปิยะมาศ พิมพ์หาญ
ธีระ ภูดี
รัชฎาพร งอยภูธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบ
การจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป. กลางอุปถัมภ์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ (2) ศึกษากลยุทธ์การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป. กลางอุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ (3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป. กลางอุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 6 คน โดยเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของโรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป. กลางอุปถัมภ์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ (2) แบบบันทึกกิจกรรมระดมสมอง (3) แบบประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ และ (4) แบบบันทึกการสะท้อนผลหลังการปฏิบัติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา


         ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” โดยรวม อยู่ในระดับ มาก, ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ คือ กลุ่มเป้าหมายบางคนพบปัญหาในการนำเข้าข้อมูลบางประเภทเข้าสู่ระบบ เช่น การเพิ่มเนื้อหา สื่อและแหล่งเรียนรู้ ไม่สามารถแปลงไฟล์ข้อมูลให้เป็นไฟล์ที่เหมาะสม และไม่สามารถสร้างกลุ่มสนทนาและการแบ่งกลุ่มย่อยผู้เรียนในการทำงานกลุ่มของรายวิชาได้ 2) ผลการศึกษากลยุทธ์การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับครูโรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” พบว่า กลยุทธ์ที่โรงเรียนนำมาใช้ได้แก่ 1) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมโดยใช้กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 2) กลยุทธ์การให้คำแนะนำปรึกษา ผลการประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ผลการใช้กลยุทธ์การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับครูโรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” พบว่า กลยุทธ์ที่นำไปใช้สามารถแก้ไขปัญหาที่พบในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3).

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:ซัคเซสมีเดีย.

ธีระพงษ์ แก้วฝ่าย. (2563). การพัฒนาศักยภาพครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนบ้านนาฮี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม: สุวีริยสาสน์.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติ ใหม่หลังวิกฤตโควิต -19. ศิลปการจัดการ, 4(2), 783-795.

ภาวพรรณ ขำทับ.(2559). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ สาขาแอนิเมชัน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์”. (2564). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). กาฬสินธุ์: โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์”.

ศราวุธ แวงธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครพนม:มหาวิทยาลัยนครพนม.

ศูนย์เฉพาะกิจการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก https://covid19.obec.go.th/.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558). ฉบับสถานศึกษา(แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท พลัส.

WHO. (2020). Archived: WHO Timeline -COVID -19. from https://www.who.int/news-room/detail/27-04-2020-who-timeline---covid-19.

WHO, UNICEF, & CIFRC. (2020). Key Messages and Actions for COVID-19 Prevention and Control in Schools. from https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/key-messages-and-actions-for- covid-19-prevention-and-control-in-schools-march-2020.pdf?sfvrsn=baf81d52_4&download=true. January 20, 2021.