การประมวลผลการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลด้วยระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ปริญญา ทองคำ
นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาของการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการคณะวิทยาการจัดการ 2) เพื่อพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ โดย มีกลุ่มประชากรตัวอย่างคือ บุคลากรสายวิชาการคณะวิทยาการจัดการ รวม 67 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) นำเสนอข้อมูลในรูปแบบการอธิบายกระบวนการพัฒนาระบบผ่านเครื่องมือการออกแบบแผนภาพ นำเสนอข้อมูลตัวเลขในตารางควบคู่กับการบรรยายและสรุปผลการดำเนินการวิจัยและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


       จากงานวิจัยพบว่า 1) การประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบเดิมในทุกวงรอบนั้น มีการใช้เอกสารหลักฐานประกอบทุกขั้นตอน
ในการประเมิน ซึ่งส่งผลให้มีความคลาดเคลื่อนของข้อมูล ผลรวมคะแนน และเกณฑ์การประเมินไม่เป็นตามความเป็นจริงเอกสารที่บุคลากรใช้ประกอบก่อให้เกิดขยะเอกสารจำนวนมากและเป็นการยากที่จะรวบรวมเพื่อนำมาประกอบการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในทั้งในระดับหลักสูตร และระดับคณะ 2) เมื่อมีการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบออนไลน์แล้วนั้นบุคลากรสายวิชาการทุกท่าน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เอง และสามารถเรียกแสดงผลการประเมินได้ตลอดเวลา 3) ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้ระบบงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.195) โดยจำแนกเป็นรายด้าน คือ ผลการประเมินในด้านประสิทธิภาพของระบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.22) ด้านนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.20) ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.14) และด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.22)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี. (2563). ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก https://personnel.rmu.ac.th/iDocument/rule/1325.

เจษฎา โพธิ์จันทร์. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การโดยใช้หลักการจัดการการไหล ของสารสนเทศโลจิสติกส์ กรณีศึกษาคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(2), 156-170.

ชนิตา ไกรเพชร และคณะ. (2556) การพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วารสารครุศาสตร์, 40(4), 69-82.

ชาติสยาม พิลาม, นวพร วิสิฐพงศ์พันธ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ ปรียกร. (2557). วงจรการบริหารจัดการระบบสารสนเทศด้วยสื่อสังคมออนไลน์. The Thirteenth National Conference on Computing and Information Technology การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศครั้งที่ 13 (NCCIT2017). (น.637-642). กรุงเทพมหานคร.

เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์. (2554). วิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

นภภัทร พูลเพิ่ม และปรีชา วิหคโต. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติตนของครูผู้ช่วยระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(2), 83-93.

นิทัศน์ นิลฉวี และวันดี โชคช่วยพัฒนากิจ. (2557). ระบบสารสนเทศสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรบนคลาวด์คอมพิวติงกรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. The Thirteenth National Conference on Computing and Information Technology การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศครั้งที่ 13 (NCCIT2017). (น.281-286). กรุงเทพมหานคร.

วิโรจน์ ชัยมูล และสุพรรษา ยวงทอง. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรุง ใหม่. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

วุฒิพงศ์ จันทร์เมืองไทย. (2564). นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์กรด้านการศึกษา. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 6(2), 50-64.

ศตพล กัลยา และจันทร์จิรา นันตา. (2566) ความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 12(1), 193-208.

สาริยา ใคลคลาย, อรพรรณ ขุนเจริญ และจิรภัทร ภู่ขวัญทอง. (2566). ความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานที่บ้านของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5. (น.660-667). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เอกรินทร์ วาโย. (2566) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(1), 42-59.

โอภาส เอี่ยมสิริวงส์. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York, NY: John Wiley & Son.

Eddy, W.B. (1981). Public organization behavior and development. Cambridge, MA: Winthrop.

Harmon, M.M., & Mayer, R.T. (1986). Organization theory for public administration. Glenview, IL: Scott, Foresman and Company.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw–Hill Book Company Inc.