การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มะม่วงมหาชนก กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงมหาชนกบ้านหนองบัวชุม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นลินี หิมพงษ์
ศิวดล กัญญาคำ
วรกฤต ช่างจัตุรัส
เพ็ญนารถ กลั่นวารี
วรายุทธ พลาศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มะม่วงมหาชนกจำนวน 3 รูปแบบ และ 2) ประเมินความพึงพอใจ
ของตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงมหาชนก บ้านหนองบัวชุม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงมหาชนก จำนวน 35 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มะม่วงมหาชนกผลสด โดยเป็นคำถามแบบปลายปิด (Close Ended Question) 2) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์มะม่วงมหาชนกเป็นคำถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 1 มีความทันสมัย ทนทานกว่ารูปแบบเดิม ขนาดบรรจุ 7-9 กิโลกรัม กราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์เน้นรูปแบบที่มีสีสันสดใส สวยงาม ภาพประกอบเป็นภาพเหมือนจริงของตัวผลิตภัณฑ์ มีตราสัญลักษณ์ที่บอกความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน รายละเอียดผลิตภัณฑ์ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 2 ใช้วัสดุที่มีความหนาสามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ได้ บรรจุภัณฑ์มีขนาดบรรจุ 5-7 กิโลกรัม สามารถหยิบจับได้สะดวก กราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ เน้นรูปแบบที่มีสีสันโดดเด่น สะดุดตา บ่งบอกความเป็นผลผลิตทางการเกษตรจากธรรมชาติ ภาพประกอบใช้ภาพเหมือนจริงของผลิตภัณฑ์ มีตราสัญลักษณ์ที่บอกความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบนบรรจุภัณฑ์รายละเอียดผลิตภัณฑ์ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 ใช้วัสดุที่มีความหนา ทนทาน บรรจุภัณฑ์มีขนาดบรรจุ 3-5 กิโลกรัม มีที่จับยกจากด้านข้างกล่องและสามารถเปิด-ปิดจากด้านบนได้ เน้นรูปแบบที่มีสีสันเรียบง่าย รูปภาพบนบรรจุภัณฑ์มีความน่าสนใจ ภาพประกอบจะใช้ภาพเหมือนจริงของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ภาพตกแต่งพื้นหลังเป็นลวดลายกราฟฟิกที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ มีตราสัญลักษณ์ที่บอกความเป็นเอกลักษณ์ชุมชน รายละเอียดผลิตภัณฑ์ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาจีน 2) การประเมินความพึงพอใจ พบว่าบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 1 มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.64) บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 2 มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67) บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนยุทธ ศรีหิรัญ. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยแผ่นทอดกรอบสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการส่องออกสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(8), 155-168.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: มะม่วง พ.ศ. 2558 ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551. (2558, 4 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 179 ง. หน้า 5.

ปิยลักษณ์ เบญจดล. (2549). บรรจุภัณฑ์กับการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเพทมหานคร.